ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูล
dot
bulletฐานข้อมูลอาคารที่ต้องตรวจสอบ
bullet ทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคาร
bulletข้อมูลการตรวจสอบอาคาร
bulletวัตถุประสงค์
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทนิติบุคคล
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทบุคคล
bulletมาตรฐานค่าวิชาชีพวิศวกรรม
bulletอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน
dot
ดาวน์โหลด
dot
bulletสัญญาตรวจสอบอาคาร
bulletเอกสารรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (word 2003)
bulletแบบฟอร์มขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ของกทม (word 2003)
bulletตารางคำนวณระยะทางระหว่างจังหวัดทั่วประเทศไทย
bulletสไลด์นำเสนองานตรวจสอบอาคาร
dot
กฎหมาย
dot
bulletพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง
bulletพ.ร.บ. โรงงาน และกฎกระทรวง
bulletพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
bulletพ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
bulletพ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
dot
ลิงก์ไปยังเว็บไซต์
dot
bulletกรมโยธาธิการและผังเมือง
bulletสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
bulletการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
bulletสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
bulletสภาวิศวกร
bulletสภาสถาปนิก
bulletวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร
bulletสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรอาคาร
bulletสมาคมข่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
bulletสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
bulletสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย
dot
ค้นหา

dot
bulletN.S. Plus Engineering
bulletConstruction Audit
bulletThai Engineer 2009


สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร




กฎกระทรวง กำหนดเงื่อนไขในการใช้ การเก็บรักษา และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย และกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายและการจัดให้มีบุคคลและสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๔๘ article

 

กฎกระทรวง

กำหนดเงื่อนไขในการใช้ การเก็บรักษา

และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

และกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายและการจัดให้มีบุคคลและสิ่งจำเป็น

ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

พ.ศ. ๒๕๔๘

-----------------------

 

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๔๒ อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๕ และมาตรา ๔๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้

สิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย หมายความว่า เชื้อเพลิง สารเคมี หรือวัตถุอื่นใดไม่ว่าจะมีสถานะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ที่อยู่ในภาวะพร้อมจะเกิดการสันดาปจากการจุดติดใด ๆ หรือการสันดาปเอง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

วัตถุระเบิด หมายความว่า สารหรือวัตถุที่ก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

วัสดุกัมมันตรังสีหมายความว่า ธาตุ หรือสารประกอบใด ๆ ที่มีองค์ประกอบส่วนหนึ่ง มีโครงสร้างภายในอะตอมไม่คงตัวและสลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีออกมา ตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ

สารออกซิไดซ์ (Oxidizing Substances) หมายความว่า สารที่ให้ออกซิเจน และช่วยให้สิ่ง อื่น ๆ ลุกติดไฟได้ง่าย เช่น โซเดียมคลอเรท (Sodium Chlorate) โปแตสเซียมไนเตรท (Potassium Nitrate) และแอมโมเนียมไนเตรท (Ammonium Nitrate) เป็นต้น

ข้อมูลความปลอดภัย (Safety Data Sheet : SDS) หมายความว่า ข้อมูลทั่วไป ข้อมูลเกี่ยวกับอันตราย ส่วนผสม การปฐมพยาบาล การปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้ การปฏิบัติเมื่อเกิดการรั่วไหล การใช้และการจัดเก็บ ค่ามาตรฐานความปลอดภัย การควบคุม การป้องกันส่วนบุคคล คุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมี ความคงตัวและการเกิดปฏิกิริยา ข้อมูลด้านพิษวิทยา ข้อมูลผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ การกำจัด การทำลาย ข้อมูลสำหรับการขนส่ง ข้อมูลกฎระเบียบด้านความปลอดภัย สุขภาพ สิ่งแวดล้อม และข้อมูลอื่น ๆ

การมีไว้ในครอบครอง หมายความว่า การมีสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้ในครอบครอง ไม่ว่าเพื่อตนเองหรือผู้อื่น และไม่ว่าจะเป็นการมีไว้เพื่อขาย ขนส่ง ใช้ หรือประการอื่นใด และรวมถึงการทิ้งอยู่หรือปรากฏอยู่ในบริเวณที่อยู่ในความครอบครองด้วย

อาคาร หมายความว่า ตึก บ้าน เรือน โรง ร้าน แพ คลังสินค้า สำนักงาน และสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่น ซึ่งบุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ผู้ประกอบกิจการ หมายความว่า บุคคลหรือคณะบุคคลผู้เป็นเจ้าของกิจการหรือได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของกิจการ ซึ่งมีหน้าที่ในการบริหาร จัดการ และควบคุมกิจการ การทำ การผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อมแซม บำรุงรักษา ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ ลำเลียง เก็บรักษา หรือกระทำการใด ๆ ตามลักษณะของอาคารหรือกิจการนั้น

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย หมายความว่า บุคคล หรือพนักงาน หรือลูกจ้าง ที่ผู้ประกอบกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายจัดให้มีไว้เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารความปลอดภัยด้านอัคคีภัย การป้องกันอัคคีภัย และการระงับอัคคีภัย

นายตรวจ หมายความว่า ผู้ซึ่งผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่นหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แต่งตั้งให้เป็นนายตรวจ

เจ้าพนักงานท้องถิ่น หมายความว่า

(๑) ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานคร

(๒) นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนจังหวัด

(๓) นายกเทศมนตรี สำหรับในเขตเทศบาล

(๔) นายกเมืองพัทยา สำหรับในเขตเมืองพัทยา

(๕) นายกองค์การบริหารส่วนตำบล สำหรับในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล

(๖) หัวหน้าผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นราชการส่วนท้องถิ่น สำหรับในเขตราชการส่วนท้องถิ่นนั้น

(๗) บุคคลซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่น

หมวด ๑

การใช้ การเก็บรักษา

และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย

ข้อ ๒ การใช้สิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ผู้ใช้ต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) ประเภทก๊าซไวไฟ (Flammable Gas)

(ก) ระมัดระวังอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อมบริเวณที่มีการใช้ก๊าซไวไฟบรรจุในถังทนความดัน

(ข) ใช้ก๊าซไวไฟที่ภาชนะบรรจุได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่กำหนดไว้ในกฎหมาย

(ค) ตรวจสอบอุปกรณ์ควบคุมปริมาณการไหลของก๊าซไวไฟและความดันในถังให้อยู่ในสภาพดีเสมอ

(ง) การแบ่งบรรจุหรือถ่ายเทก๊าซไวไฟ ให้กระทำอย่างระมัดระวังโดยผู้มีความชำนาญ และห้ามมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในรัศมี ๑๗ เมตร โดยติดตั้งไม้กั้น ไฟสัญญาณ หรือป้ายเตือนต่าง ๆ ที่เห็นได้ชัดเจนจากระยะไกล

(จ) เมื่อก๊าซไวไฟรั่วไหลและติดไฟ หากไม่สามารถแก้ไขได้ ให้ปล่อยให้ก๊าซไวไฟไหม้ไฟจนหมด โดยเฝ้าระวังอยู่ในที่กำบังระยะไกล

(ฉ) ไม่อยู่ใต้ทิศทางลมในขณะใช้ก๊าซไวไฟ

(ช) ไม่ใช้ก๊าซไวไฟในบริเวณใกล้เปลวไฟหรือประกายไฟ หรือบริเวณที่ระบบไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าบกพร่อง

(ซ) จัดให้มีเครื่องหมาย ป้าย และคำเตือนที่เหมาะสม ในบริเวณที่มีการใช้ก๊าซไวไฟ

(ฌ) จัดให้มีการระบายอากาศที่ดีในบริเวณที่ใช้ก๊าซไวไฟ

(ญ) จัดให้มีการตรวจสอบปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไวไฟในบริเวณที่ปฏิบัติงานเป็นประจำ

(ฎ) จัดให้มีสัญญาณเตือนภัยเมื่อมีปริมาณความเข้มข้นของก๊าซไวไฟในบรรยากาศบริเวณที่ปฏิบัติงานสูงผิดปกติ

(ฏ) จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงและแผนฉุกเฉินที่สามารถใช้งานและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น

(ฐ) ท่อก๊าซไวไฟ ให้ทาสีให้เห็นชัดเจนเพื่อให้ผู้ใช้ทราบว่าเป็นท่อก๊าซไวไฟ

(ฑ) จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้ก๊าซไวไฟแก่ผู้ใช้ก๊าซ

(ฒ) เมื่อท่อก๊าซไวไฟรั่วไหลให้ปิดวาล์วต้นทางทันที

(ณ) เมื่อเลิกใช้ก๊าซไวไฟแล้วให้ปิดวาล์วทุกครั้ง

(๒) ประเภทของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)

(ก) ไม่ใช้ของเหลวไวไฟในบริเวณที่อับอากาศ ใกล้เปลวไฟ ที่ที่มีอุณหภูมิสูง หรือแหล่งประกายไฟ

(ข) จัดให้มีเครื่องดับเพลิงและแผนฉุกเฉินที่สามารถใช้งานและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพในบริเวณที่มีการใช้ของเหลวไวไฟ

(ค) จัดให้มีป้าย ห้ามสูบบุหรี่ และ ห้ามก่อให้เกิดประกายไฟทุกชนิด ติดตั้งไว้ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน

(ง) การถ่ายเทของเหลวไวไฟจากถังใหญ่ไปสู่ถังเล็กหรือภาชนะบรรจุอื่น ต้องจัดให้มีสายดินเพื่อลดไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นขณะสูบส่งและถ่ายเทของเหลวไวไฟ

(จ) การกลั่นหรือระเหยของเหลวไวไฟใด ๆ ให้กระทำในที่ซึ่งมีระบบระบายอากาศเฉพาะที่

(ฉ) ห้ามนำของเหลวไวไฟไปให้ความร้อนโดยสัมผัสกับเปลวไฟหรือแหล่งกำเนิดไฟโดยตรง

(ช) ก่อนนำภาชนะบรรจุของเหลวไวไฟที่ใช้แล้วไปทิ้ง ต้องจัดการให้ไม่มีของเหลวไวไฟเหลือค้างอยู่

(ซ) เก็บเศษกระดาษ เศษผ้า หรือสิ่งติดไฟอื่น ๆ ที่ปนเปื้อนของเหลวไวไฟไว้ในภาชนะปิดมิดชิด และนำไปกำจัดตามวิธีการที่เหมาะสม

(ฌ) ปิดฝาภาชนะบรรจุของเหลวไวไฟทุกครั้งเมื่อใช้เสร็จแล้ว และระวังการใช้ของเหลวไวไฟใกล้หรือร่วมกับสารออกซิไดซ์

(ญ) ควบคุมดูแลการใช้ของเหลวไวไฟอย่างเคร่งครัด

(ฎ) จัดให้มีสัญญาณเตือนภัยเมื่อไอระเหยของของเหลวไวไฟเข้มข้นถึงจุดติดไฟได้

(ฏ) จัดให้มีการระบายอากาศทั่วไปอย่างเหมาะสม และจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันการเกิดอัคคีภัยและติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ได้แก่ อุปกรณ์ตรวจจับความร้อน พร้อมสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อัตโนมัติ

(๓) ประเภทของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)

(ก) ห้ามวางของแข็งไวไฟไว้ใกล้ไฟ ความร้อน กรด หรือสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำหรืออากาศ

(ข) ห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ปฏิบัติงานอย่างเด็ดขาด

(ค) สารที่เกิดการสันดาปได้เอง ต้องจัดเก็บในที่ที่เหมาะสมตามคุณสมบัติและลักษณะของสารนั้น

(ง) จัดให้มีการฝึกอบรมเกี่ยวกับวิธีทำงานที่ปลอดภัยแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานกับของแข็งไวไฟ

(จ) จัดให้มีป้าย ฉลาก หรือคำเตือนให้ทราบว่า ห้ามใช้น้ำหรือ ห้ามใช้เครื่องมือโลหะงัดเปิดหรือตีกระทบฝาภาชนะบรรจุ ตามคุณสมบัติของของแข็งไวไฟติดไว้บนภาชนะบรรจุ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นได้ชัดเจน

(ฉ) จัดสถานที่ปฏิบัติงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยและมีการระบายอากาศที่ดี

(ช) ห้ามมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณสถานที่ปฏิบัติงานโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างเด็ดขาด

(ซ) จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงและแผนฉุกเฉินที่สามารถใช้งานและดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดอุบัติภัยขึ้น

ข้อ ๓ การเก็บรักษาและการมีไว้ในครอบครองซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ผู้เก็บรักษาหรือมีไว้ในครอบครองต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) ประเภทก๊าซไวไฟ (Flammable Gas)

(ก) เก็บให้ห่างจากความร้อนและเปลวไฟ และเก็บแยกจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และวัสดุกัมมันตรังสี ตลอดจนสารที่เข้ากันไม่ได้ (Incompatible Material) อื่น

(ข) ภาชนะบรรจุต้องยึดให้อยู่กับที่เพื่อป้องกันการล้มหรือหล่นกระแทก และตรวจสอบให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยอยู่เสมอ หากภาชนะบรรจุบกพร่องรั่วไหลให้แยกออกทันที

(ค) จัดให้มีป้าย เครื่องหมาย และคำเตือนที่เพียงพอ ถูกต้องและเหมาะสมในบริเวณสถานที่เก็บ และกวดขันให้ผู้ที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามคำเตือนโดยเคร่งครัด

(ง) จัดให้มีระบบควบคุมอุณหภูมิและการระบายอากาศในสถานที่เก็บตามคุณสมบัติและลักษณะของก๊าซไวไฟ

(จ) จัดให้มีระบบดับเพลิงที่เหมาะสมและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันที

(ฉ) พนักงานที่เกี่ยวข้องต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยจากก๊าซไวไฟ

(ช) พื้นที่เก็บต้องเรียบสม่ำเสมอและไม่ก่อให้เกิดการไหลบ่าเมื่อเกิดก๊าซเหลวรั่วไหล

(ซ) จัดให้มีข้อมูลความปลอดภัยของก๊าซไวไฟที่เก็บรักษา

(ฌ) จัดให้มีระบบไฟฟ้าที่ป้องกันการเกิดประกายไฟ

(๒) ประเภทของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids)

(ก) ห้ามเก็บในปริมาณมากเกินความจำเป็น และให้เก็บแยกจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และวัสดุกัมมันตรังสี

(ข) ห้ามวางหรือเก็บในที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือใกล้แหล่งติดไฟ โดยจัดให้มีการควบคุมอุณหภูมิและการระบายอากาศในสถานที่เก็บตามคุณสมบัติและลักษณะของของเหลวไวไฟ

(ค) จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณเตือนภัยที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาในสถานที่เก็บ

(ง) จัดให้มีระบบไฟฟ้าที่ป้องกันการเกิดประกายไฟ

(จ) จัดให้มีป้าย ห้ามสูบบุหรี่ และ ห้ามก่อให้เกิดประกายไฟทุกชนิด ติดตั้งไว้ในที่ที่เห็นได้ชัดเจน

(ฉ) ภาชนะบรรจุต้องติดฉลากและสัญลักษณ์ความไวไฟให้ชัดเจน

(ช) จัดให้มียามรักษาการณ์ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของวัตถุไวไฟที่รับผิดชอบดูแลอยู่ และเข้มงวดกวดขันห้ามมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณสถานที่เก็บ

(ซ) เมื่อเกิดการรั่วไหลของของเหลวไวไฟในสถานที่เก็บ ต้องจัดการไม่ให้เกิดการไหลบ่านองตามพื้นทั่วไป และจัดเก็บทำความสะอาดให้เรียบร้อยทันที

(ฌ) จัดให้มีข้อมูลความปลอดภัยของของเหลวไวไฟที่เก็บรักษา

(๓) ประเภทของแข็งไวไฟ (Flammable Solids)

(ก) ห้ามเก็บในปริมาณมากเกินไป และเก็บแยกจากวัตถุระเบิด สารออกซิไดซ์ และวัสดุกัมมันตรังสี ตลอดจนสารที่เข้ากันไม่ได้ (Incompatible Material) อื่น

(ข) ห้ามเก็บไว้ใกล้ไฟ ความร้อน กรด หรือสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับน้ำหรืออากาศ

(ค) สารที่เกิดการสันดาปได้เอง ต้องจัดเก็บในที่ที่เหมาะสมตามคุณสมบัติและลักษณะของสารนั้น

(ง) สารเคมีที่ถูกน้ำและความชื้นไม่ได้ ต้องใช้ภาชนะบรรจุชนิดกันน้ำและความชื้นได้ และต้องตรวจสอบสภาพของภาชนะบรรจุให้อยู่ในสภาพดีเสมอ

(จ) จัดให้มีการควบคุมอุณหภูมิและการระบายอากาศในสถานที่เก็บตามคุณสมบัติและลักษณะของของแข็งไวไฟ

(ฉ) จัดให้มีระบบไฟฟ้าที่ป้องกันการเกิดประกายไฟ

(ช) ห้ามสูบบุหรี่และก่อให้เกิดประกายไฟทุกชนิดโดยเด็ดขาด

(ซ) จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณเตือนภัยที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลาในสถานที่เก็บ

(ฌ) ภาชนะบรรจุต้องติดฉลากและสัญลักษณ์ความไวไฟให้ชัดเจน

(ญ) จัดให้มียามรักษาการณ์ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของวัตถุไวไฟที่รับผิดชอบดูแลอยู่ และเข้มงวดกวดขันห้ามมิให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณสถานที่เก็บ

(ฎ) เมื่อมีสิ่งหกหล่นรั่วไหลในสถานที่เก็บ ต้องเก็บกวาดให้เรียบร้อย

(ฏ) จัดให้มีข้อมูลความปลอดภัยของของแข็งไวไฟที่เก็บรักษา

ข้อ ๔ การเก็บรักษาสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายประเภทก๊าซไวไฟและของเหลวไวไฟภายนอกอาคาร ผู้เก็บรักษาต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(๑) ปฏิบัติตามคำแนะนำของข้อมูลความปลอดภัยเกี่ยวกับสารเคมีและวัตถุอันตราย

(๒) บริเวณที่เก็บต้องจัดให้มีการรองพื้นด้วยวัสดุทนความร้อนและป้องกันการซึมสู่พื้นดินของสารเคมีที่หกรั่วไหล

(๓) จัดให้มีระบบการระบายน้ำทิ้งที่ควบคุมการถ่ายเทได้ในกรณีเกิดการรั่วไหล

(๔) ภาชนะบรรจุที่ใช้เก็บรักษาต้องทนทานต่อทุกสภาพอากาศ และในกรณีที่เป็นถังที่กลิ้งไปมาได้ต้องยึดติดกับพื้นให้แน่นหนา และสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวกเมื่อเกิดเพลิงไหม้

ข้อ ๕ ในกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดเงื่อนไขในการใช้ การเก็บรักษา และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายไว้แล้ว ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น

หมวด ๒

กิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายและการจัดให้มีบุคคล

และสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย

ข้อ ๖ ความในหมวดนี้ไม่ใช้บังคับแก่

(๑) พระที่นั่งหรือพระราชวัง

(๒) โบราณสถานหรืออาคารอนุรักษ์ ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ข้อ ๗ กิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ได้แก่ กิจการที่ใช้ หรือเก็บรักษา หรือมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย หรือกิจการที่มีขบวนการผลิตหรืออุปกรณ์การผลิต ที่ก่อให้เกิดความร้อน หรือประกายไฟ หรือเปลวไฟ ที่อาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย รวมทั้งกิจการที่มีสภาพหรือมีการใช้ที่อาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย โดยมีการประกอบกิจการในอาคารหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคาร ดังต่อไปนี้

(๑) ท่าอากาศยาน สนามบิน สถานีรถไฟ และสถานีรถไฟฟ้า

(๒) สถานศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือห้องสมุด

(๓) สถานกวดวิชา เช่น โรงเรียนกวดวิชา สถาบันกวดวิชา หรือสถานฝึกอบรมหรือฝึกอาชีพ

(๔) ภัตตาคาร คลังสินค้า อาคารเก็บของ ห้างสรรพสินค้า สำนักงาน โรงมหรสพ และหอประชุม ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

(๕) โรงงาน ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน

(๖) โรงแรม ตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม

(๗) สถานที่บรรจุหรือเก็บก๊าซ ตามกฎหมายว่าด้วยการบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว

(๘) สถานที่ผลิต เก็บ หรือจำหน่ายสารเคมีและวัตถุอันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย

(๙) สถานที่ผลิต เก็บ หรือจำหน่ายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง หรือสิ่งเทียมอาวุธปืน ตามกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน

(๑๐) สถานบริการ ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ

(๑๑) สถานพยาบาล ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล

(๑๒) สถานีขนส่ง ตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก

(๑๓) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหรือคลังน้ำมันเชื้อเพลิง ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง

(๑๔) อาคารชุด ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด

ข้อ ๘ ให้ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกอบกิจการตามข้อ ๗ จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยตามสมควรแก่สภาพของอาคารที่ประกอบกิจการ

คุณสมบัติและอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย

ข้อ ๙ ให้ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกอบกิจการตามข้อ ๗ จัดให้มีสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยสำหรับอาคารที่ประกอบกิจการดังต่อไปนี้ เว้นแต่ได้จัดให้มีสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว

(๑) ทางหนีไฟ บันไดหนีไฟ ประตูหนีไฟ และระบบอัดอากาศภายในช่องบันไดหนีไฟ

(๒) แบบแปลนแผนผังของอาคารแต่ละชั้น

(๓) ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้

(๔) ระบบไฟส่องสว่างสำรอง ป้ายบอกชั้น และป้ายบอกทางหนีไฟ

(๕) ระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรอง สำหรับกรณีฉุกเฉินแยกเป็นอิสระจากระบบอื่น และสามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติเมื่อระบบจ่ายไฟฟ้าปกติหยุดทำงาน

(๖) ตู้หัวฉีดน้ำดับเพลิงพร้อมสายฉีดน้ำดับเพลิง

(๗) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ ได้แก่ Sprinkler System หรือระบบอื่นที่เทียบเท่า

(๘) ผนังกันไฟ และประตูที่ทำด้วยวัสดุทนไฟ

(๙) เครื่องดับเพลิงตามชนิดและขนาดที่เหมาะสมสำหรับดับเพลิงที่เกิดจากประเภทของวัสดุที่อยู่ในแต่ละกิจการ

(๑๐) อุปกรณ์ตรวจจับความร้อนหรือควันไฟ ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย

(๑๑) อุปกรณ์เครื่องช่วยในการหนีไฟจากอาคารที่ประกอบกิจการ ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย

การจัดให้มีสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยตาม (๑) (๒) (๓) (๔) (๕) (๖) (๗) (๘) และ (๙) ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร

ข้อ ๑๐ ในกรณีที่มีการประกอบกิจการตามข้อ ๗ หลายกิจการในอาคารเดียวกัน ให้ผู้ประกอบกิจการนั้นจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยตามข้อ ๘ และข้อ ๙ ร่วมกัน

ข้อ ๑๑ การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยและสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย ให้กระทำภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายเวลาออกไปอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน

ข้อ ๑๒ ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการซึ่งประกอบกิจการตามข้อ ๗ ได้จัดให้มีสิ่งจำเป็น ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยอยู่แล้ว แต่ไม่อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ หรือมีสภาพหรือการใช้ที่อาจไม่ปลอดภัยจากอัคคีภัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ผู้ประกอบกิจการนั้นดำเนินการแก้ไขสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยนั้นให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้และปลอดภัยจากอัคคีภัย ภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด แต่ต้องไม่เกินหกสิบวัน

ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะขยายระยะเวลาออกไปอีกก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเก้าสิบวัน

ข้อ ๑๓ ก่อนที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการแก้ไขสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคารหรือกิจการตามข้อ ๑๒ ให้นายตรวจตรวจสอบสภาพ การใช้ ระบบความปลอดภัยเกี่ยวกับอัคคีภัย และสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัย แล้วรายงานให้ เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบ

รายงานนั้นต้องประกอบด้วยผลการตรวจสอบ สภาพปัญหาของสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยที่จำเป็นต้องแก้ไข วิธีการแก้ไข ระยะเวลาในการแก้ไข และรายละเอียดอื่น ๆ ที่จำเป็น

แบบรายงานให้เป็นไปตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงมหาดไทย

ข้อ ๑๔ ให้นายตรวจตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัย และตรวจสอบสภาพการใช้งานของสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคารหรือกิจการตาม ข้อ ๗ อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หากตรวจสอบพบว่าเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยด้านอัคคีภัยมิได้ปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้อง หรือพบว่าสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคารหรือกิจการนั้นชำรุด เสื่อมสภาพ ขาดหายไป หรือมีการใช้ที่อาจจะก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิตหรือร่างกาย และจำเป็นต้องดำเนินการเพื่อบรรเทาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดภยันตรายโดยเร่งด่วน ให้นายตรวจรีบรายงานเหตุดังกล่าวและวิธีการที่จะต้องดำเนินการเพื่อบรรเทาเหตุนั้นต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นเพื่อมีคำสั่งโดยเร็ว

การรายงานและแบบรายงานให้นำข้อ ๑๓ วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม

ข้อ ๑๕ ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นพบเห็นเองว่าสิ่งจำเป็นในการป้องกันและระงับอัคคีภัยของอาคารหรือกิจการตามข้อ ๗ ชำรุด เสื่อมสภาพ ขาดหายไป หรือมีการใช้ที่อาจจะก่อให้เกิดภยันตรายต่อชีวิตหรือร่างกาย หรือได้รับรายงานจากนายตรวจตามข้อ ๑๔ หรือเจ้าพนักงานอื่น และเจ้าพนักงานท้องถิ่นเห็นว่าเป็นกรณีฉุกเฉินไม่อาจรอช้าไว้ได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบกิจการดำเนินการเพื่อบรรเทาเหตุที่อาจจะก่อให้เกิดภยันตรายดังกล่าวได้ทันทีตามวิธีการที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนด

 

 

                                                                                               ให้ไว้ ณ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๘

                                                                                                                สุธรรม แสงประทุม

                                                                                               รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

                                                                                                                ปฏิบัติราชการแทน

                                                                                                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

 

เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๑๖ ก ราชกิจจานุเบกษา ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๘

หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา ๖ (๑) และ (๒) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๔๒ บัญญัติให้เงื่อนไขในการใช้ การเก็บรักษา และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย และกิจการอันอาจทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่ายและการจัดให้มีบุคคลและสิ่งจำเป็น ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

 




กฎหมาย

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. ๒๕๕๕ article
ประกาศกรมควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้ง ความถี่ และระยะเวลาในการเก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรม article
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมการปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม article
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง article
ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการรบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน article
ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ อนุญาตให้ระบายน้ำทิ้งให้มีค่าแตกต่างจากค่ามาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง article
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) เรื่อง กำหนดคุณลักษณะของน้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงาน article
กฎกระทรวง กำหนดสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเป็นอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๔ article
ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๓) article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ article
กฎกระทรวง การทำงานเกี่ยวกับรังสีชนิดก่อไอออน พ.ศ. ๒๕๔๗ article
กฎกระทรวง ฉบับที่ ๑๐ (พ.ศ. ๒๕๒๘) ขอรับใบอนุญาต article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2528) กำหนดค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. ๒๕๕๒ article
กฎกระทรวง กำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. ๒๕๔๘ article
กฎกระทรวง สถานที่เก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๕๑ article
พระราชบัญญัติ ควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ๒๕๔๒ article
พระราชบัญญัติ วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยินในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๕๓ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ๒๕๔๙ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหัวหน้าหน่วยงานความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๑ article
ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง การคิดคำนวณพื้นที่ใช้สอย จำนวนอาคาร และจำนวนห้องของอาคารหรือกลุ่มของอาคาร วิธีการเก็บตัวอย่างน้ำ article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. ๒๕๕๔
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและหลักสูตรการฝึกอบรมความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๙ article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศพ.ศ. ๒๕๔๗ article
กฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ. ๒๕๕๐ article
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๓๗ (พ.ศ. ๒๕๕๓) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร article
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม article
ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. ๒๕๕๒ article
กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๕ article
กฎกระทรวง กำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๒ article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 article
ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการก่อสร้าง ดัดแปลง การอนุญาตให้ใช้สถานที่เป็นโรงมหรสพและการต่ออายุใบอนุญาตประจำปี article
กฎกระทรวง กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ๒๕๕๑ article
ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบและออกหนังสือรับรองระบบไฟฟ้าภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ article
กฎกระทรวง ว่าด้วยการอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ ประเภทและระบบความปลอดภัยของโรงมหรสพ และอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับการอนุญาตให้ใช้อาคารเพื่อประกอบกิจการโรงมหรสพ พ.ศ. ๒๕๕๐ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๕๔ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง สัญลักษณ์เตือนอันตราย เครื่องหมายเกี่ยวกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และข้อความแสดงสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๕๔ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง ชนิดและประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานก่อสร้างที่ต้องตรวจรับรองประจำปี article
ประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงการรบกวน ระดับเสียงเฉลี่ย ๒๔ ชั่วโมง และระดับเสียงสูงสุดที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๓ article
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ ๒๙ (พ.ศ. ๒๕๕๐) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น หน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบส่วนประกอบและอุปกรณ์ของลิฟต์ขนส่งวัสดุชั่วคราว ลิฟต์โดยสารชั่วคราว และลิฟต์ที่ใช้ทั้งขนส่งวัสดุและโดยสารชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๕๓ article
ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการ การใช้เชือก ลวดสลิง และรอก พ.ศ. ๒๕๕๓ article
กฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. ๒๕๕๐ article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙ article
พระราชบัญญัติ การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 article
พระราชบัญญัติ โรงแรม พ.ศ. ๒๕๔๗ article
บัญชีท้ายกฎกระทรวง เป็นโรงงานตามพระราชบัญญัติโรงงาน พศ 2535 article
พระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ article
พระราชบัญญัติ อาคารชุด พ.ศ. ๒๕๒๒ article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. ๒๕๔๙ article
ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง ข้อกำหนดลักษณะแบบของบันไดหนีไฟและทางหนีไฟทางอากาศของอาคาร article
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๒ article
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงานสำหรับลูกจ้าง article
พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๑ article
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ article
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด article
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุม การปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ๒) article
ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทของอาคารเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุม การปล่อยน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะหรือออกสู่สิ่งแวดล้อม article
กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียด และรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. ๒๕๕๕ article
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๓๕ article
กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในที่อับอากาศพ.ศ. ๒๕๔๗ article
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมอาคาร พศ 2544 article
พระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พศ 2522 article
กฎกระทรวง กำหนดชนิดหรือประเภทของอาคารที่เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคาร หรือผู้ดำเนินการต้องทำการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลภายนอก พ.ศ. ๒๕๔๘ article
กฎกระทรวง กำหนดคุณสมบัติเฉพาะของผู้ตรวจสอบ หลักเกณฑ์การขอขึ้นทะเบียนและการเพิกถอน การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ และหลักเกณฑ์การตรวจสอบอาคาร พ.ศ. ๒๕๔๘ article
กฎกระทรวง กำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๘ article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2527) article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 33 พศ 2535 article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 39 พศ 2537 article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 44 พศ 2538 article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 47 พศ 2540 article
กฎกระทรวง ฉบับที่ 55 พศ 2543 article
พระราชบัญญัติ สถานบริการ พศ 2509 article
กฎกระทรวง กำหนดประเภทและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้เพื่อประกอบกิจการเป็นสถานบริการ พ.ศ. ๒๕๕๕ article
กฏกระทรวง กำหนดมาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าในโรงงาน พ.ศ. ๒๕๕๐ article
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า (ยกเลิก) article