|
ไฟเป็นเรื่อง...ที่ต้องศึกษา บทความน่าสนใจ คัดมาจากเว็บบอร์ดของ สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร ไฟและอัคคีภัยเป็นเรื่องของเคมี ใช่ไหม ครับ คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการที่ตึกระฟ้าถล่มที่นครนิวยอร์คจากการชนของเครื่อง บิน 2 ลำ ในวันที่ 11 กันยายน 2544 นั้น เกิดจากน้ำหนักเครื่องบินและแรงกระแทกอย่างเดียว น้อยคนที่จะคิดว่า เป็นเพราะการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงเครื่องบินและสิ่งของภายในตึกที่ระบายความร้อนไม่ทัน ทำให้อุณหภูมิในตึกสูงจนกระทั่งโครงสร้างโลหะของตึกไม่แข็งแรงพอ ตึกจึงถล่มลงมา เวลาไฟไหม้บ้าน ตำรวจดับเพลิงจะพยายามฉีดน้ำเลี้ยงบ้านที่อยู่ใกล้เคียงด้วย ทั้ง ๆ ที่เปลวไฟที่ไหม้อยู่ไม่ได้ไปสัมผัสถึงตัวบ้านใกล้เคียง แต่ผู้ที่ดับเพลิงเขารู้ว่ารังสีความร้อนสามารถแพร่ไปผ่านอากาศทำให้สีทา บ้านใกล้เคียงหรือไม้กระดานร้อนจนติดไฟได้เอง วัตถุติดไฟได้อย่างไร ไฟ มักจะเกิดจากการเผาไหม้สิ่งที่เป็นเชื้อเพลิงได้ ในอากาศที่อุณหภูมิสูงพอ การเผาไหม้ คือ การเกิดปฏิกิริยาเคมีระหว่างไอของสารที่อยู่ในเชื้อเพลิงกับออกซิเจนในอากาศ ซึ่งมักจะทำให้เกิดสารชนิดใหม่ นอกจากนี้ การเผาไหม้ยังทำให้เกิดความร้อนซึ่งมักจะเพิ่มอุณหภูมิรอบบริเวณของเชื้อเพลิงนั้น ๆ แก๊สหุงต้ม น้ำมัน ไม้ เป็นสิ่งที่ติดไฟได้ เพราะมีองค์ประกอบที่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศได้ ผลของปฏิกิริยาที่สมบูรณ์คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ ซึ่งเรามองไม่เห็นและไม่ได้กลิ่น แต่หากว่าปฏิกิริยาไม่สมบูรณ์ จะเกิดก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์ ควัน เขม่าขึ้น นอกจากนี้ สิ่งเจือปนอื่น ๆ ที่มีธาตุไนโตรเจน กำมะถัน จะถูกเผาไหม้กลายเป็นก๊าซที่เป็นพิษได้ด้วย เช่นเดียวกับก๊าซคาร์บอนโมนอกไซด์ จากประสบการณ์ เรารู้ว่าวัสดุต่าง ๆ ติดไฟได้ยากหรือง่ายต่างกัน เทียนไขจะติดไฟได้ต้องอาศัยไส้ที่ช่วยการติดไฟ ส่วนแก๊สหุงต้ม ซึ่งมีองค์ประกอบทางเคมีคล้ายเทียนไขกลับติดไฟได้ง่ายมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่า การลุกเป็นไฟขึ้นอยู่กับสถานะของสาร แก๊สหุงต้มอยู่ในสถานที่พร้อมที่จะสัมผัสและปะปนกับออกซิเจนในอากาศอยู่แล้ว ส่วนสารของเทียนไข ต้องถูกหลอมและระเหยให้เป็นก๊าซด้วยไฟที่ไส้ จึงจะติดไฟต่อไปได้ กล่าวคือเปลวไฟของเทียนไขเกิดจากการเผาไหม้ก๊าซที่ได้ระเหยจากตัวเทียนไข และความร้อนที่เกิดขึ้นใน เปลวไฟ กลับมาช่วยให้ไขหลอมและระเหยต่อไป การลุกไหม้ของสารต้องพึ่งปัจจัย 3 อย่าง คือ เชื้อเพลิง (ไอของมัน) อากาศ (ออกซิเจน) ในสัดส่วนที่พอเหมาะ และอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ฉะนั้น การดับไฟ คือการที่ทำให้เกิดการขาดปัจจัยอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น การปิดวาวล์ถังแก๊ส เป็นการทำให้ขาดเชื้อเพลิง การฉีดน้ำทำให้ลดอุณหภูมิและ ลดการสัมผัสกับออกซิเจน เป็นต้น เรียบเรียงใหม่จากหนังสือ “มหันตภัยจากวัตถุเคมี” โดย ภิญโญ พานิชพันธ์ เอื้อนพร ภู่เพ็ชร์ ธีระศักดิ์ พงศ์พนาไกร จัดพิมพ์โดย สวทช. มูลนิธิบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย พ.ศ.2544 วัสดุทนไฟไม่ติดไฟ เพราะไม่สามารถทำปฏิกิริยากับออกซิเจนได้ง่าย เช่น เกลือแกง และอิฐ แต่วัสดุบางอย่างซึ่งธรรมดาติดไฟได้ง่าย เราสามารถทำให้ทนไฟได้ดีขึ้นโดยการอาบหรือผสมกับสารบางอย่างที่สามารถแพร่ กระจายความร้อนได้ดี (ลดอุณหภูมิ) หรือเปลี่ยนสภาพที่ถูกไฟไหม้ให้กลายเป็นเกราะฉาบผิววัสดุกันไม่ให้เกิดการ สัมผัสกับอากาศ (ลดความเข้มข้นของออกซิเจนและไอเชื้อเพลิง) วัสดุบางชนิดติดไฟได้เมื่อถูกน้ำ เพราะมันทำปฏิกิริยากับน้ำทำให้เกิดความร้อนและก๊าซที่ติดไฟง่าย และความร้อนที่เกิดขึ้นจะช่วยเร่งปฏิกิริยาของก๊าซและสารต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณรอบข้างทำให้ไฟลามมากขึ้น ฉะนั้นการดับไฟด้วยน้ำจึงไม่ได้ผลดีเสมอไป ส่วนวัสดุบางชนิดมีองค์ประกอบซึ่งสามารถปลดปล่อยออกซิเจนออกมาได้เอง เช่น สารเปอร์ออกไซด์อินทรีย์ วัสดุเหล่านี้ เมื่อติดไฟแล้วจะดับได้ยากมาก เพราะว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โดยไม่มีอากาศจากภายนอก ความไวไฟของวัตถุ ของเหลวมักจะมีการระเหยให้เป็นก๊าซอยู่ตลอดเวลา เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นจะมีการระเหยไปสัมผัสกับอากาศมากขึ้น หากของเหลวนั้นติดไฟได้ จะมีอุณหภูมิหนึ่งที่ผิวของของเหลวจะติดไฟได้ชั่วครู่เมื่อมีประกายไฟมาใกล้ อุณหภูมิต่ำที่สุดที่ของเหลวติดไฟชั่วครู่โดยอาศัยประกายไฟนี้ เรียกว่า จุดวาบไฟ (flash point) การใช้จุดวาบไฟจึงเป็นวิธีหนึ่งเพื่อประเมินความไวไฟของวัตถุ คือวัตถุที่มีจุดวาบไฟต่ำถือว่าไวไฟมากกว่า และจุดวาบไฟสูงถือว่าไวไฟน้อยกว่า ของเหลวที่สามารถติดไฟได้ เมื่ออยู่ในอุณหภูมิที่สูงกว่าจุดวาบไฟ จะสามารถติดไฟในอากาศได้อย่างถาวรไม่จำเป็นต้องพึ่งประกายไฟก็ได้ จุดชวาล (autoignition point) คืออุณหภูมิต่ำสุดที่ของสามารถติดไฟได้เอง โดยไม่อาศัยประกายไฟ ของแข็งก็เช่นกันต้องอยู่ในอุณหภูมิที่สูงพอ จึงจะจุดติดไฟได้ ดังนั้น การติดไฟของฟืนจึงต้องอาศัย ฟาง กระดาษ และไต้ เพื่อให้วัสดุพวกนี้ติดไฟก่อน ความร้อนจากการเผาไหม้ทำให้เกิดอุณหภูมิสูงที่บางจุดของฟืนเป็นเวลานานพอ จึงติดไฟได้ แม้ว่า ก๊าซบางชนิดจะติดไฟได้ง่าย แต่ก๊าซเหล่านี้ต้องผสมกับอากาศในสัดส่วนที่ถูกต้อง จึงจะติดไฟได้ ฉะนั้น แก๊สในถังแก๊สหุงต้มจะไม่ติดไฟภายในถัง การเปิดวาล์วมากเกินไปก็ไม่ทำให้แก๊สติดไฟเช่นกันเพราะ สัดส่วนผสมกับอากาศที่ปากวาวล์ไม่พอเหมาะ การที่จะติดไฟได้ต้องเป็นส่วนผสมที่ห่างจากวาวล์พอควร สารพิษที่เกิดจากการไหม้ไฟ วัตถุที่ไม่เป็นอันตรายหลายชนิด เมื่อถูกไฟไหม้จะทำให้เกิดก๊าซพิษได้ เพราะว่าวัตถุเหล่านี้ถูกทำให้แตกสลายและรวมตัวใหม่โดยการเผาไหม้ให้เป็นสาร ประกอบของธาตุไนโตรเจน กำมะถัน และคาร์บอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบของวัตถุนั้น ๆ เช่น คาร์บอนโมนอกไซด์ ไนโตรเจนไดออกไซด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าการรวมตัวของธาตุต่าง ๆ ในวัตถุนั้นอาจทำให้เกิดสารพิษตัวใหม่ได้เช่นกัน ตัวอย่างของวัตถุธรรมดาที่ใช้ตามบ้านที่เป็นอันตรายได้เมื่อเกิดไฟไหม้คือ ไม้ ผ้าม่าน ท่อพีวีซี วัตถุพลาสติกที่ทำมาจากการรวมตัวของหน่วยย่อย (monomer) มักจะไม่มีพิษ แต่เมื่อถูกไฟไหม้ บางส่วนจะกลับกลายเป็นสารพิษได้ เพราะหน่วยย่อยเหล่านี้จะแตกออก และแสดงความเป็นพิษของมัน เช่น ไวนิลคลอไรด์ (vinyl chloride) อะคริลาไมด์ (acrylamide) ไฮโดรเจนคลอไรด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นต้น ความร้อนและรังสีที่เกิดจากไฟไหม้ การลุกไหม้ของวัตถุต่างชนิดกัน และความเร็วของการเผาไหม้ที่ต่างกัน ย่อมทำให้เกิดความร้อนไม่เท่ากัน ความร้อนที่เกิดขึ้น หากไม่มีการถ่ายเท จะทำให้อุณหภูมิในบริเวณการลุกไหม้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งทำให้เกิดการระเหยของเชื้อเพลิงมากขึ้น เชื้อเพลิงระเหยนี้ จะวิ่งหาอากาศและออกซิเจน เพื่อให้เกิดการเผาไหม้มาก ขึ้นเสมอ ฉะนั้น เวลาเกิดไฟไหม้รุนแรงภายในตึกที่ปิดมิดชิดพอควร หากเกิดการถ่ายเทอากาศได้ดีขึ้นทันทีทันใด เช่น หน้าต่างแตกหรือประตูเปิด จะเกิดเปลวไฟวาบขึ้นแรงมาก เพราะเกิดการเผาไหม้ที่อัตราเพิ่มขึ้น และเพิ่มความร้อนซึ่งช่วยเร่งการเผาไหม้และเกิดอันตรายได้มากขึ้น การถ่ายเทความร้อน มีกลไกที่จำแนกได้เป็น 3 อย่าง คือ ก) การนำพาความร้อนไปด้วยการผสมกันกับอากาศหรือของเหลว เช่น อากาศร้อนจะขึ้นสูง และอากาศที่เย็นกว่าจะลงมาแทนที่ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของอากาศ ความร้อนจึงหมุนเวียนและผสมไปกับอากาศที่นำพามันไป ของเหลวก็เช่นกันจะหมุนเวียนไปได้ ข) การนำความร้อนไปด้วยของแข็ง เช่น การนำความร้อนจากห้องหนึ่งโดยนำผ่านท่อเหล็กไปยัง อีกห้องหนึ่ง หรือความร้อนภายในห้องที่เกิดไฟไหม้ถูกนำผ่านลูกบิดประตูออกมาข้างนอกห้อง ค) การแผ่รังสี ตัวอย่างเช่น การที่ความร้อนจากหลอดไฟแผ่มายังมือที่วางอยู่ใต้หลอดไฟ ความร้อนนี้มิได้เกิดจากการนำพาโดยอากาศ เพราะว่าอากาศที่ร้อนจะลอยขึ้น และไม่ลอยลงมาที่มือ หรือในกรณีความร้อนจากการผิงไฟ คือ รังสีความร้อนเป็นตัวหลักที่ทำให้เราร้อน เพราะว่าหากเอากระจกมากั้นระหว่างกองไฟกับ ตัวเราอย่างรวดเร็ว ตัวเราจะรู้สึกเย็นลงทันที ทั้ง ๆ ที่บริเวณที่เรายืนอยู่ยังไม่เปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากนัก ฉะนั้น ในกรณีไฟไหม้ ควรระวังความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้ และอุณหภูมิที่เป็นผลตามมา เราต้องรู้ว่าเชื้อเพลิงที่กลายเป็นก๊าซที่ติดไฟง่ายในห้องปิดที่มีอุณหภูมิ สูงจะวิ่งหาอากาศเมื่อห้องเปิด และความร้อนจากการแผ่รังสีจะเป็นอันตรายต่อผู้ที่เปิดประตูห้องทันที ขณะเดียวกัน ความรู้เรื่องกลไกถ่ายเทความร้อน จะทำให้เราระวังก่อนจะจับต้องสิ่งของในบริเวณไฟไหม้ และระวังว่าต้องอยู่ห่างจากที่เกิดเหตุพอสมควรเพราะเป็นการแผ่รังสีความร้อน ประเภทของไฟ มีการแยกประเภทของไฟ ตามชนิดของเชื้อเพลิง และแหล่งเกิดพลังงานสำหรับการติดไฟนั้น ๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 1. ประเภท A หรือ ก เกิดจากเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน เป็นส่วนใหญ่ เช่น กระดาษ ไม้ และฟาง 2. ประเภท B หรือ ข เกิดจากเชื้อเพลิง ซึ่งประกอบด้วย คาร์บอน และไฮโดรเจน เป็นส่วนใหญ่ เช่น น้ำมัน เชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม 3. ประเภท C หรือ ค เกิดจากพลังงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พร้อมทำงาน หรือกำลังทำงาน ทำให้ส่วนประกอบของมันและสิ่งอื่นที่เป็นเชื้อเพลิงรอบข้างติดไฟได้ 4. ประเภท D หรือ ง เกิดจากโลหะที่มีสมบัติติดไฟได้หรือกำเนิดแก๊สติดไฟได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับ อากาศและความชื้นในอากาศ เช่น โลหะโซเดียม อะลูมิเนียมที่เป็นผง เป็นต้น เครื่องดับเพลิงที่ใช้อยู่ทั่วไปจะกำหนดอย่างชัดเจนที่ฉลากว่าสามารถใช้กับ ไฟประเภทใดบ้าง การดับไฟ ดังที่กล่าวไว้ข้างต้น หากเราสามารถกำจัดหรือลดปัจจัยอย่างหนึ่งอย่างใดของ 3 ปัจจัย คือ เชื้อเพลิง ออกซิเจน และอุณหภูมิ เราจะสามารถดับไฟหรือลดความสามารถในการติดไฟได้ น้ำเป็นสิ่งที่คนใช้มากที่สุด เพราะมักจะสามารถลดอุณหภูมิของสิ่งที่กำลังติดไฟได้ และยังคลุมวัตถุไม่ให้ถูกต้องกับออกซิเจนมากเกินไปอีกด้วย โฟมก็เช่นกันจะทำหน้าที่กันการสัมผัสกับออกซิเจน และช่วยลดอุณหภูมิด้วย แต่โฟมส่วนใหญ่ประกอบด้วยน้ำ จึงใช้ดับเพลิงของสารประเภทที่เป็นอันตรายเมื่อชื้นหรือเปียก ไม่ได้ เราต้องใช้โฟมพิเศษอย่างที่มีสูตรและส่วนผสม อื่น ส่วนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้น เนื่องจากมีความเย็นเมื่อออกจากถังดับเพลิง จึงสามารถกันไม่ให้ออกซิเจนเข้าไปพบสิ่งที่กำลังไหม้ไฟ และสามารถนำความร้อนออกมาบางส่วนด้วย สารเคมีแห้งที่ใช้กันทั่วไป เช่น แกรไฟท์ เกลือแกง แอมโมเนียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มักจะทำหน้าที่ดูดความร้อนจากปฏิกิริยาเผาไหม้ ทำให้อุณหภูมิลดลง และสามารถเกิดก๊าซที่กันให้ออกซิเจนออกห่างได้อีกด้วย กลไกอีกอย่างหนึ่งที่สารเคมีแห้งบางชนิดอาจจะใช้เพื่อดับไฟ คือ ทำให้หยุดลูกโซ่ปฏิกิริยาของอนุมูลอิสระในไฟ อันที่จริงแล้ว จากการวิเคราะห์อย่างละเอียด นักเคมีพบว่า นอกเหนือจากเชื้อเพลิง อุณหภูมิ และออกซิเจนแล้ว การเกิดไฟไหม้ยังต้องอาศัยการสนับสนุนจากปัจจัยที่ 4 คือ อนุมูลอิสระ ซึ่งเป็นตัวช่วยเร่งปฏิกิริยาและให้ความร้อน ฉะนั้น สารที่หยุดลูกโซ่การเกิดอนุมูลอิสระในไฟได้จะดับเพลิงได้ และเราได้พิสูจน์แล้วว่า สารประเภทเฮลอน (halon) นั้น ดับเพลิงได้ เพราะหยุดการเกิดอนุมูลอย่างเป็นลูกโซ่เป็นส่วนใหญ่ ไฟเป็นพลังงานชนิดหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์อย่างมหาศาล เพราะไฟเป็นต้นกำเนิดของพลังงานต่างๆ ที่มนุษย์นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ ไฟ” อาจก่อให้เกิดภัยอย่างมหันต์ได้ หากขาดความรู้หรือขาดความระมัดระวังในการใช้และการควบคุม ดูแลแหล่งกำเนิดไฟ ประชาชนทั่วไปควรรู้ภยันตรายจากไฟไหม้ เพื่อจะได้มีแผนการควบคุมการใช้ไฟ การใช้ความร้อนอย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย พร้อมทั้งเรียนรู้วิธีการ ป้องกันและระงับอัคคีภัยเพื่อลดภยันตรายที่จะเกิดขึ้น สิ่งที่ควรรู้ได้แก่ ภยันตรายจากไฟไหม้, การป้องกันและระงับอัคคีภัย, วิธีใช้เครื่องดับเพลิง, ขั้นตอนทั้ง 4 เมื่อมีไฟไหม้, หลัก 5 ต้องป้องกันไฟ, บัญญัติ 10 ประการในอาคารสูง, และความรู้เบื้องต้นเพื่อพ้นอัคคีภัย และใช้แก๊สปลอดภัย 10 วิธี โดยมีรายละเอียดดังนี้ 1).ภยันตรายจากไฟไหม้ 1.1 ไฟไหม้จะมีความมืดปกคลุม ไม่สามารถมองเห็นอะไรได้ ความมืดนั้นอาจเนื่องจากอยู่ภายในอาคารแล้วกระแสไฟฟ้าถูกตัด หมอกควันหนาแน่น หรือเป็นเวลากลางคืน วิธีแก้ไข ติดตั้งอุปกรณ์ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ( Emergency Light ) ซึ่งทำงานได้ด้วยแบตเตอรี่ทันที ที่กระแสไฟฟ้าถูกตัด ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง เมื่อกระ แสไฟฟ้าถูกตัด เตรียมไฟฉายที่มีกำลังส่องสว่างสูง ไว้ให้มีจำนวนเพียงพอในจุดที่สามารถนำมาใช้ได้สะดวก ฝึกซ้อมหนีไฟเมื่อไม่มีแสงสว่าง ด้วยตนเองทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ในโรงแรม หรือ แม้แต่ในโรงพยาบาล โดยอาจใช้วิธีหลับตาเดิน ( ครั้งแรกๆ ควรให้ เพื่อนจูงไป ) และควรจินตนาการด้วยว่าขณะนี้กำลังเกิดเหตุเพลิงไหม้ 1.2 ไฟไหม้จะมีแก๊สพิษและควันไฟ ผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บในเหตุเพลิงไหม้ประมาณ ร้อยละ 90 เป็นผลจากควันไฟ ซึ่งมีทั้งก๊าซพิษ และทำให้ขาดออกซิเจน วิธีแก้ไข จัดเตรียม หน้ากากหนีไฟฉุกเฉิน (Emergency smoke mask) ใช้ถุงพลาสติกใส ขนาดใหญ่ตักอากาศแล้วคลุมศีรษะหนีฝ่าควัน (ห้ามฝ่าไฟ) คืบ คลานต่ำ อากาศที่พอหายใจได้ยังมีอยู่ใกล้พื้น สูงไม่เกิน 1 ฟุต แต่ไม่สามารถทำได้เมื่ออยู่ในชั้นที่สูงกว่าแหล่งกำเนิดควัน 1.3 ไฟไหม้จะมีความร้อนสูงมาก หากหายใจเอาอากาศที่มีความร้อน 150 องศาเซลเซียสเข้าไป ท่านจะเสียชีวิตทันที ในขณะที่เมื่อเกิดเพลิงไหม้แล้วประมาณ 4 นาที อุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่า 400 องศาเซลเซียส วิธีแก้ไข ถ้าทราบตำแหน่งต้นเพลิงและสามารถระงับเพลิงได้ ควรระงับเหตุเพลิงไหม้ ด้วยความรวดเร็ว ไม่ควรเกิน 4 นาทีหลังจากเกิดเปลวไฟควรหนีจากจุดเกิดเหต ุให้เร็วที่สุด ไปยังจุด รวมพล (Assembly area) 1.4 ไฟไหม้ลุกลามรวดเร็วมาก เมื่อเกิดเปลวไฟขึ้นมาแล้ว ท่านจะมีเวลาเหลือในการเอาชีวิตรอดน้อยมาก ระยะการเกิดไฟไหม้ 3 ระยะ ดังนี้ 1.4.1 ไฟไหม้ขั้นต้น คือ ตั้งแต่เห็นเปลวไฟ จนถึง 4 นาที สามารถดับได้ โดยใช้เครื่องดับเพลิงเบื้องต้น แต่ผู้ใช้จะต้องเคยฝึกอบรมการใช้เครื่องดับเพลิง มาก่อน จึงจะมีโอกาสระงับได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.4.2 ไฟไหม้ขั้นปานกลาง ถึงรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ไปแล้ว 4 นาที ถึง 8 นาที อุณหภูมิจะสูงมากเกินกว่า 400 องศาเซลเซียส หากจะใช้ เครื่องดับเพลิง เบื้องต้น ต้องมีความชำนาญ และต้องมีอุปกรณ์ จำนวนมากเพียงพอ จึงควรใช้ระบบดับเพลิงขั้นสูง จึงจะมีความปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ มากกว่า 1.4.3 ไฟไหม้ขั้นรุนแรง คือ ระยะเวลาไฟไหม้ต่อเนื่องไปแล้ว เกิน 8 นาที และยังมีเชื้อเพลิงอีกมากมายอุณหภูมิจะสูงมากกว่า 600 องศาเซลเซียส ไฟ 4 จะลุกลามขยายตัวไปทุกทิศทางอย่างรุนแรงและรวดเร็ว การดับเพลิงจะต้องใช้ผู้ที่ได้รับการฝึก พร้อมอุปกรณ์ในการระงับเหตุขั้นรุนแรง ตัวอย่าง ปัญหาและความเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย 1. เจ้าหน้าที่หน่วยงานและประชาชน ไม่มีความรู้เรื่องอัคคีภัย การป้องกันอัคคีภัย และการระงับอัคคีภัย 2. โครงสร้างอาคาร และสภาพแวดล้อมไม่มีความปลอดภัยเพียงพอ 3. ขาดอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการระงับอัคคีภัยและการช่วยชีวิต เมื่อเกิดอัคคีภัย 4. ขาดการพัฒนาระเบียบวินัย และ การสร้างจิตสำนึกของเจ้าหน้าที่และประชาชนให้ตระหนักในเรื่องความปลอดภัย อย่างแท้จริง 5. องค์การต่างๆไม่มีมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยที่มีระบบ เป็นรูปธรรมอย่างสากล วิธีดำเนินงาน เพื่อให้ได้มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย (1).จัดคนรับผิดชอบ หน่วยงานต้องแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นมาเป็นทางการ โดยคำสั่ง จากผู้บริหารสูงสุดขององค์การเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อจัดทำแผนแม่บท ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย(ธรรมนูญความปลอดภัย) ซึ่งควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านอัคคีภัยจากภายนอก (ที่เป็นสมาชิก หรือใช้มาตรฐาน NFPA National Fire Protection Association , USA.) เข้าร่วมในคณะทำงานนี้ด้วย เพื่อให้แผน สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด อาจเชิญได้จากสมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA , สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหน่วยอาสาต่างๆ หลักสำคัญในการบริหารบุคลากร คือ ต้องตั้งเป้าหมายให้คนในองค์การสามารถดำเนินการเองได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพสูง และมีนโยบายที่ชัดเจนต่อเนื่อง โดยสมาคมฯ FARA ได้กำหนด วิสัยทัศน์-พันธกิจ ให้กับองค์การที่ต้องการพัฒนามาตรฐาน คือ ทำได้เมื่อภัยมา มีความรู้ มีความพร้อม ฝึกซ้อมเสมอ รู้ปัญหาเพื่อแก้ไข สำรวจค้นหาความเสี่ยง ประเมิน และร่วมกันแก้ไข เป็นขวัญกำลังใจ เอื้อเฟื้อ อาทร ใส่ใจ และเอาใจใส่ผู้ร่วมงาน เพื่อให้รักสามัคคี ทุกเป้าหมายต้องก่อให้เกิดความรัก และเกื้อกูลกันตลอดไป (2).ตรวจสอบงบประมาณ ควรตรวจสอบงบประมาณที่มีอยู่แล้ว หรือคาดว่าจะมีเพิ่มเติมมาในอนาคต เพื่อจะได้เลือกแผนการทำงานที่เหมาะสมได้โดยทันที เช่น 2.1 ถ้ามีงบประมาณมากเพียงพอ ให้จัดหาอุปกรณ์ทั้งหมดที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานโดยทันที แล้วจัดการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ ให้รู้และเข้าใจวิธีใช้อุปกรณ์เหล่านั้น พร้อมกำหนดบทบาทบุคคลากรเพื่อทำการบริหารแผนป้องกันอัคคีภัยอย่างสมบูรณ์ 2.2 มีงบประมาณปานกลาง ก็ให้จัดซื้ออุปกรณ์เท่าที่จำเป็น และตั้งงบประมาณผูกพันระยะกลาง (ภายใน 3-5 ปี)สำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ที่เหลือ แต่ต้องใช้งบประมาณบางส่วนที่มีนั้น จัดการฝึกอบรมบุคลากร พึงระลึกเสมอว่า “คนนำเครื่อง” คนมีความรู้ สามารถปฏิบัติได้ดีกว่าคนมีเครื่องมือมากมาย แต่ใช้ไม่เป็น 2.3 มีงบประมาณน้อย ก็ควรใช้ไปในการพัฒนาบุคลากรเป็นลำดับแรก โดยจัดให้มีการฝึกอบรม พร้อมกับทำการรณรงค์ให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การป้องกัน ระงับอัคคีภัย เพื่อให้บุคลากรในหน่วยงาน สามารถใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด และเข้าใจขั้นตอนการปฏิบัตเมื่อเกิดเหตฉุกเฉิน โดยกำหนดตารางการปฏิบัติเป็นทางการ (3).ตรวจอาคารสถานที่ สำรวจอาคารในหน่วยงานทั้งหมด โดยคณะทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและระงับ อัคคีภัยจากภายนอก แล้วปรับปรุงระบบความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล ดังรายการต่อไปนี้ : 3.1 หาพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุเพลิงไหม้หรือภยันตรายต่างๆ แล้วกำหนดแผนการแก้ไขเป็นรูปธรรม อย่างสม่ำเสมอ 3.2 จัดตั้งกองบัญชาการแผนฉุกเฉิน ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากมีอยู่แล้วให้ปรับปรุงตามความเหมาะสม 3.3 หาจุดรวมพล(Assembly Area)ที่สามารถรองรับการอพยพได้อย่างเหมาะสม (ไม่น้อยกว่าสองจุด แต่ไม่เกินสี่) หากมีอยู่แล้วให้ปรับปรุงบำรุงรักษา 3.4 หาเส้นทางอพยพหนีไฟทั้งบุคคล และทรัพย์สิน จากทุกๆจุดของอาคาร แล้วจัดทำแผนผังเพื่อประชาสัมพันธ์ 3.5 หาเส้นทางการจราจรในอาคาร โดยมุ่งเน้นให้สามารถใช้ได้เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งจะต้องกำหนดทิศทางการจราจร, บริเวณที่จอดรถดับเพลิง, รถบันได ฯลฯ , จำนวนประตูรั้วทางเข้า-ออก และประตูฉุกเฉิน หากทางเข้า-ออกใช้ไม่ได้ เป็นต้น 3.6 จุดติดตั้งอุปกรณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัยอื่นๆ ที่เหมาะสมกับสถานที่และงบประมาณ เช่น เครื่องตรวจจับควันและความร้อน(Smoke / Heat Detectors) ,สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ( Fire Alarm), หัวฉีดน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ( Sprinkler ), แผงควบคุมระบบเตือนภัย( Fire Control Panel ) , ไฟฉุกเฉิน ( Emergencylight ) สามารถใช้งานได้หรือไม่ ฯลฯ 3.7 จุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ทั้งเพลิงไหม้เบื้องต้น คือถังดับเพลิง(Portable Fire Extinguisher) และเพลิงไหม้ 5 ขั้นรุนแรง (ระบบสายฉีดน้ำดับเพลิง) แหล่งเก็บน้ำสำรอง,ปั้มน้ำดับเพลิง (ดูรายละเอียดในข้อ 1 เกณท์ขั้นต้นฯ) 3.8 จุดติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตอื่นๆ อาทิ รอกหนีไฟ ( Fire Escape Device )เพื่อช่วยชีวิตคนติดไฟในอาคารสูง , ท่อผ้าหนีไฟ ( Chute ) , เครื่องช่วยหายใจ ( SCBA.)เบาะลมช่วยชีวิต ( Air Cushion ), ขวาน, ฆ้อนปอนด์,เชือก, เปลหาม, หน้ากากฉุกเฉิน,บันไดลิงที่เคลื่อนย้ายได้ฯลฯ 3.9 ป้ายสื่อความปลอดภัย (Safety Sign) และป้ายประชาสัมพันธ์ภยันตรายต่างๆ เช่น ป้ายทางออก(Exit), ป้าย ทางออกฉุกเฉิน (Emergency Exit) , ป้ายทางหนีไฟ (Fire Exit) , ป้ายจุดติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง , ป้ายจุดติด ตั้งสัญญาณแจ้งเหตุฉุกเฉิน 3.10 ระบบการติดต่อสื่อสาร เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานได้รับข่าวสารฉุกเฉินโดยทันที อาทิ ระบบเสียงตามสาย ,หอกระจายข่าว , ระบบวิทยุสื่อสาร , ระบบโทรศัพท์ภายใน , ระบบโทรทัศน์วงจรปิด , โทรศัพท์มือถือ , รถกระจายเสียง หรือแม้แต่เครื่องขยายเสียงที่ใช้แบตเตอรี่ เป็นต้น สำรวจว่า มีจำนวนเท่าใด เพียงพอหรือไม่ เนื่องจากภาวะฉุกเฉินจะได้รับการตอบสนอง อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ก็ด้วยระบบการสื่อสารนี้ (4).ตรวจอีกทีแผนเดิม ทุกหน่วยงาน จะต้องมีแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยอยู่แล้วอย่างแน่นอน แต่อาจไม่ได้นำมาปฏิบัติ หรือ แผนฯนั้นอาจไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันที่ทุกองค์การกำลัง มุ่งเน้นไปสู่เป้าหมายแห่งการเป็นหน่วยงานคุณภาพ ดังนั้น จึงควรนำแผนฯเดิมมาวิเคราะห์ และหาทางปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาคุณภาพอย่างเป็นรูปธรรม นำมาปฏิบัติได้ทันที โดยมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง และการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน (5).ทำเสริมแผนใหม่ การจัดทำแผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในองค์การขึ้นใหม่นั้น ประกอบกับความเหมาะสมของทรัพยากรในหน่วยงานและประชาคมเครือข่าย โดยมีกระบวนการ คือ 1. วางระบบ (Policy / Guideline ) 2. ทำตามระบบ ( Implement the Guideline ) 3. วัดผล / ทบทวน / ตรวจสอบ ( Monitor / Review ) 4. ปรับปรุงระบบ ( PDCA , CQI , Innovation ) ซึ่งจะต้องมีการประเมินผลด้วยตนเองตลอดเวลา เพื่อนำไปสู่เป้าหมาย คือ พร้อมรับการประเมิน และรับรองโดย องค์กรภายนอกที่เกี่ยวข้อง ในรายละเอียดของแผนฯ ควรครอบคลุมถึงผู้รับผิดชอบ และกำหนดวัน-เวลาทำงานไว้ด้วยอย่างชัดเจน (6).มุ่งทำไปให้ต่อเนื่อง (CQI Continuous Quality Improvement) ความล้มเหลวของโครงการ หรือแผนใดก็ตาม มักมีปัจจัยสำคัญอยู่ที่การขาดความต่อเนื่อง ซึ่งมีพฤติกรรมหลักคือ “งด” , “เลื่อน” , “แชเชือน” และ “บิดเบือนเป้าหมายเดิม” ดังนั้น หากหน่วยงานใดปรารถนาที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นองค์การปลอดอัคคีภัย อันเป็นองค์ประกอบสำคัญขององค์การที่มีมาตรฐานสากล. ก็ควรหาลู่ทางปฏิบัติให้แผนฯ ที่วางไว้อย่างดีแล้วนั้น ดำรงและดำเนินไปได้ อย่างต่อเนื่องตลอดไป เฉกเช่นเดียวกับ “ การหายใจของมนุษย์ ที่หยุดเมื่อใด คือตายเมื่อนั้น ” เกณท์ขั้นต้นสู่มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย FARA-FS (Fire Safety) Certified 1 ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัยขั้นต้นจนถึงขั้นปานกลางอย่างถูกต้อง 1.1 ติดตั้งเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Portable Fire Exinguisher)แต่ละประเภท ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และวัตถุเชื้อเพลิง เช่น ในห้องที่ต้องการความสะอาด ห้ามใช้เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งเป็นอันขาด อาทิ ห้องผ่าตัด (OR) ห้องผู้ป่วยหนัก (ICU) ห้องฉุกเฉิน (ER) ห้องอื่น ที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศฯลฯ ให้ใช้เครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือน้ำยาเหลวระเหยที่ไม่มีสารพษ CFC และใช่น้ำหรือโฟม ในบริเวณที่เชื้อเพลิงมีลักษณะเป็นของแข็งเชื้อเพลิงธรรมดา เช่น ยาง ไม้ ผ้า กระดาษ พลาสติค ฯลฯ 1.2 จำนวนเครื่องดับเพลิงซึ่งมีประสิทธิภาพในการดับเพลิง ไม่ต่ำกว่า 6A-10B ไม่น้อยกว่า 1 เครื่องต่อพื้นที่ 200 ตารางเมตร 1.3 จำนวนเครื่องดับเพลิงไม่น้อยกว่า 1 เครื่อง ต่อระยะห่างไม่เกิน 20 เมตร 1.4 ห้ามติดตั้งเครื่องดับเพลิงสูงจากพื้น (วัดถึงส่วนสูงสุดของเครื่องฯ) เกินกว่า 140 ซ.ม. สำหรับเครื่องที่มีน้ำหนักเบา (ไม่เกิน 10 กิโลกรัม) และห้ามติดตั้งเครื่องดับเพลิงขนาดหนัก(เกิน 10 กิโลกรัม) สูงกว่า 90 ซม. โดยเฉพาะเครื่องดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในหลายๆประเทศนิยมตั้ง เครื่องดับเพลิงไว้บนพื้น เพื่อให้สามารถหยิบใช้ได้โดยสะดวกทุกคน 1.5 ต้องมีระบบดับเพลิงเพื่อรองรับอัคคีภัยขั้นปานกลาง ถึงขั้นรุนแรง อาทิ ม้วนสายยางฉีดดับเพลิง (FireHose Reel ) , สายฉีดดับเพลิงแบบแขวน (Fire Hose Rack) และม้วนสายผ้าใบดับเพลิง (Fire Delivery Hose) เป็นต้น พร้อมทั้งมีแหล่งเก็บน้ำดับเพลิง (Water Tank) ,เครื่องสูบน้ำดับเพลิง (Fire Pump) , ท่อทางจ่ายน้ำดับเพลิง (Fire Hydrant) ,ท่อรับน้ำดับเพลิง ( Inlet Valve) 2 มีป้ายสื่อความปลอดภัย 6 ( Safety Sign ) ต้องจัดให้มีเพียงพอ สามารถมองเห็นได้ชัดเจนทุกมุม ในระยะไกล ทั้งเวลากลางวัน และกลางคืน ส่วนใหญ่คือป้าย 3 มิติแบบเรืองแสง 2.1 ป้ายบอกทางหนีไฟ ( Fire Exit ) ใช้เฉพาะช่องทางหนีไฟเท่านั้น 2.2 ป้ายทางออกฉุกเฉิน ( Emergency Exit ) ที่จัดเตรียมไว้ แม้จะเป็นหน้าต่าง 2.3 ป้ายทางเข้า-ออก ( Entrance - Exit ) 2.4 ป้ายบอกจุดติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน-ระงับอัคคีภัย และอุปกรณ์เตือนภัยต่าง อาทิ เครื่องดับเพลิงแบบมือถือ (Fire Extinguisher),ตู้เก็บสายส่งน้ำดับเพลิง (Fire Hose Cabinet) , จุดเปิดสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) , จุดติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตต่างๆ เช่น รอกหนีไฟ ( Fire Escape Device ) ฯลฯ 2.5 ป้ายบอกชื่อห้อง หรือช่องทางต่างๆ ทุกช่อง ทุกประตู รวมทั้งทางตัน , บริเวณอันตราย, ป้ายจุดรวมพล,ป้ายกองบัญชาการแผนฉุกเฉิน , ป้ายพื้นที่ปลอดภัยของแผนก 2.6 ป้ายระบุ “ห้ามใช้ลิฟท์ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้” ติดไว้นอกลิฟท์ ทุกๆ โถงเข้าลิฟท์ 2.7 ป้ายบอกความรุนแรงของสารไวไฟ, สารเคมี, สารกัมมันตรังสี, วัตถุมีพิษ ฯลฯ 2.8 ป้ายกฏระเบียบ ข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติ ป้ายจราจร, ป้านรณรงค์ให้เกิดความปลอดภัย ฯลฯ ป้ายต่างๆเหล่านี้ จะต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในระยะไกล หลายมุมมอง ทั้งในเวลากลางวันและกลางมีการตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่ตามกำหนดเวลาและ เมื่อมีการปรับปรุง ดัดแปลงอาคาร - มีการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอัคคีภัย และบันทึก หรือ รายงานเป็น ลายลักษณ์อักษร - มีการประเมินภาวะเสี่ยงจากอัคคีภัยอย่างสม่ำเสมอ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง (อย่างย่อ) พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2542 หมวด 2 การระงับอัคคีภัย มาตรา 15 ให้ผู้อำนวยการดับเพลิงประจำท้องถิ่น เจ้าพนักงานท้องถิ่น พนักงานดับเพลิง และเจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ระงับอัคคีภัย โดยให้ติดเครื่องหมายและให้แสดงบัตรประจำตัวเมื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องร้องขอ มาตรา 23 ผู้ใดพบเพลิงเริ่มไหม้ให้แจ้งต่อเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือบุคคลซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลรักษาอาคารหรือสถานที่ที่เป็นต้นเพลิง เพื่อทำการดับเพลิง ถ้าไม่ปรากฏตัวบุคคลดังกล่าว และเพลิงนั้นที่อยู่ในสภาพที่ตนสามารถดับได้ ก็ให้ทำการดับเพลิงนั้นทันที ถ้าเพลิงนั้นอยู่ในสภาพที่ตนไม่สามารถดับได้ ให้รีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ตามมาตรา 15 ทราบโดยด่วน หมวด 4 บทกำหนดโทษ มาตรา 32 ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา 23 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าร้อยบาท มาตรา 35 ผู้ใดแจ้งเหตุหรือให้อาณัติสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้อันเป็นเท็จต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 36 ผู้ใดไม่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย ทำลาย เคลื่อนย้าย กีดขวาง หรือทำให้เกิดอุปสรรคต่อการใช้ อาณัติสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ เครื่องดับเพลิงหรือท่อส่งน้ำดับเพลิง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งน่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่บุคคลอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษ จำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบการเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน สำหรับลูกจ้าง “นายจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคล หมายความว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลนั้น และหมายความรวมถึงผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทน นิติบุคคล “ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเป็นผู้รับค่าจ้างด้วยตนเองหรือไม่ก็ตาม หมวด 3 การดับเพลิง ข้อ 16 การใช้เครื่องมือดับเพลิงแบบมือถือนายจ้างต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้ (2) ให้นายจ้างจัดให้มีเครื่องดับเพลิงตามชนิด จำนวน และให้ทำการติดตั้งดังต่อไปนี้ ง. เครื่องดับเพลิงแบบมือถือทุกเครื่องต้องมีเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ต้องมี ขนาดที่มองเห็นได้ชัดเจนในระยะไม่น้อยกว่า หนึ่งเมตรห้าสิบเซนติเมตร (3) ข้อปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องดับเพลิงแบบมือถือ ค. เครื่องดับเพลิงแต่ละเครื่องมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินยี่สิบกิโลกรัม ติดตั้งสูงจากพื้นที่ทำงานไม่น้อยกว่าหนึ่งเมตร แต่ไม่เกิน หนึ่งเมตรสี่สิบเซนติเมตร ข้อ 19 ให้นายจ้างปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์ดับเพลิงดังต่อไปนี้ (3) จัดให้ลูกจ้างเข้ารับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นจากหน่วยงานที่ทางราชการ กำหนด หรือยอมรับไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถาน ประกอบการ ข้อ 20 ให้นายจ้างจัดลูกจ้างเพื่อทำหน้าที่ดับเพลิงโดยเฉพาะอยู่ตลอดเวลาที่มีการทำงาน ข้อ 21 ให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์ป้องกัน โดย : แนวๆๆ [203.209.120.220] วันที่ 12 ส.ค. 2549 21:00:30 น. |
กองทุนความปลลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน แผนระงับอุบัติภัยฉุกเฉิน การป้องกันระงับอัคคีภัย สภากทม. เข้าถึงคลังมาตรฐานความปลอดภัยระดับโลก NFPA ฝึกประกอบนั่งร้านเพื่อเตรียมทำงานบนที่สูง ทำงานบนที่สูงของพนักงานบริษัท กฎรักษ์ชีวา 12 ประการ การจัดอบรมมาตรฐาน NFPA 101®, Life Safety Code หลักสูตรสากลที่ได้รับการรับรองจาก NFPA ต่างประเทศ กฎทองแห่งความปลอดภัย นโยบายความปลอดภัย |