ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูล
dot
bulletฐานข้อมูลอาคารที่ต้องตรวจสอบ
bullet ทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคาร
bulletข้อมูลการตรวจสอบอาคาร
bulletวัตถุประสงค์
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทนิติบุคคล
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทบุคคล
bulletมาตรฐานค่าวิชาชีพวิศวกรรม
bulletอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน
dot
ดาวน์โหลด
dot
bulletสัญญาตรวจสอบอาคาร
bulletเอกสารรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (word 2003)
bulletแบบฟอร์มขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ของกทม (word 2003)
bulletตารางคำนวณระยะทางระหว่างจังหวัดทั่วประเทศไทย
bulletสไลด์นำเสนองานตรวจสอบอาคาร
dot
กฎหมาย
dot
bulletพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง
bulletพ.ร.บ. โรงงาน และกฎกระทรวง
bulletพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
bulletพ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
bulletพ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
dot
ลิงก์ไปยังเว็บไซต์
dot
bulletกรมโยธาธิการและผังเมือง
bulletสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
bulletการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
bulletสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
bulletสภาวิศวกร
bulletสภาสถาปนิก
bulletวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร
bulletสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรอาคาร
bulletสมาคมข่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
bulletสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
bulletสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย
dot
ค้นหา

dot
bulletN.S. Plus Engineering
bulletConstruction Audit
bulletThai Engineer 2009


สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร




การประกันภัยสำหรับวิศวกรรม article

การประกันภัยสำหรับวิศวกรรม


การประกันภัยเบ็ดเตล็ดคุ้มครองทรัพย์สินด้านงานประกันภัยวิศวกรรม (Engineering Insurance)

  • การประกันภัยการปฏิบัติงานตามสัญญา ( Contract Work Policy [CWI])
  • การประกันภัยหม้อไอน้ำระเบิด ( Boiler Policy)
  • การประกันภัยเครื่องจักร ( Machinery Policy)
  • การประกันภัยเครื่องมือในการก่อสร้าง ( Contractors' Plant & Machinery [CPM])
  • การประกันภัยเครื่องจักรอิเลคทรอนิคส์ ( Electronic Equipment Insurance)

ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 แขนง คือ

1. การประกันภัยเครื่องจักรชำรุดเสียหาย (Machinery Breakdown Insurance)
        เป็น การให้ความคุ้มครองเพื่อชดใช้ความชำรุดเสียหาย ซึ่งอาจเกิดขึ้นแก่เครื่องจักรกลทุกประเภท การประกันภัยเครื่องจักรนี้เป็นการประกันภัยต่างหากที่ไม่รวมความสูญเสียจาก อัคคีภัยให้ความคุ้มครองความเสียหายอันเกิดจากการใช้เครื่อง และจากอุบัติเหตุอื่นๆซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

  • การออกแบบผิดพลาด (การคำนวณ แบบแปลน แบบวาด ความบกพร่องในการผลิต วัสดุ)
  • การดำเนินเครื่องผิด ขาดความชำนาญ ประมาท
  • การถูกกลั่นแกล้งด้วยเจตนาร้าย หรือถูกก่อวินาศกรรม
  • ไฟฟ้าลัดวงจร และสาเหตุทางไฟฟ้าอย่างอื่น
  • การระเบิดทางฟิสิกส์ ฯลฯ

2. การประกันภัยทุกชนิดในการติดตั้งเครื่องจักร (Erection All Risks Insurance)
        การ ประกันภัยประเภทนี้ เป็นการคุ้มครองอย่างกว้างขวางต่อภัยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ณ สถานที่ติดตั้งสำหรับเครื่องจักรกลทุกประเภท และทุกขนาด นับจากเครื่องจักรเล็กๆธรรมดาไปจนถึงเครื่องกำเนิดพลังงานนิวเคลียร์ที่มี ค่าสูงนับหมื่นล้านบาท

การคุ้มครองพอจะกล่าวย่อๆ ดังนี้

  • บรรดาเครื่องจักรกล สายไฟ รวมทั้งโครงสร้างที่เป็นเหล็ก
  • เครื่องมือ เครื่องใช้และอุปกรณ์ในการติดตั้ง
  • เครื่องกำเนิดพลังงาน และเครื่องผลิต
  • งานวิศวกรรมด้านโยธา (ที่ไม่ใหญ่เกินไป)
  • บรรดาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในสถานที่ติดตั้งแล้ว

ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อสาธารณชน คือ

  1. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
  2. ความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย

ภัยที่คุ้มครอง

  • อัคคีภัย การระเบิด
  • ภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า พายุทุกชนิด แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หินทลาย
  • โจรกรรม
  • ความเสียหายสืบเนื่องจากการชำรุดของไฟฟ้า หรือเครื่องจักรกล
  • ขาดฝีมือหรือขาดความชำนาญ ความผิดพลาดตามวิสัยปุถุชน หรือถูกก่อวินาศกรรม ถูกกลั่นแกล้ง
  • ความเสียหายในระหว่างเคลื่อนย้าย เก็บรอการติดตั้งหรือระหว่างการติดตั้ง

ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก
        บริษัทฯจะชดเชยผู้เอาประกันภัยสำหรับจำนวนเงินทั้งหมดที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายที่จะต้องชำระค่าเสียหาย เนื่องจาก

  1. ความบาดเจ็บทางร่างกายหรือเจ็บไข้ อันเกิดแก่บุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุ
  2. ความสูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอกโดยอุบัติเหตุ เกิดขึ้นโดยตรงจากการปฏิบัติตามสัญญาที่ประกันตามกรมธรรม์นี้ และเกิดขึ้นในบริเวณติดต่อใกล้เคียงกับสถานที่ก่อสร้างระหว่างระยะเวลาเอา ประกันภัย

ระยะเวลาคุ้มครอง
        การ คุ้มครองจะเริ่มทันทีที่ทรัพย์สินที่จะติดตั้งได้ขนส่งถึงสถานที่ติดตั้ง แล้ว จะคุ้มครองตลอดไปจนกว่าการติดตั้งจะแล้วเสร็จ และลองเครื่องเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งกล่าวโดยย่อคือให้ความคุ้มครอง

  • ระหว่างการเก็บรอหรือพักรอการติดตั้ง ณ สถานที่
  • ระหว่างการติดตั้ง
  • ระหว่างการลองเครื่อง ภายหลังการติดตั้งเสร็จแล้ว
  • การคุ้มครองยังอาจจะขยายถึงการบำรุงรักษาอีกระยะหนึ่ง หลังจากลองเครื่องเรียบร้อยแล้วก็ได้

3. การประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractors' All Risks Insurance)
        การ ประกันภัยประเภทนี้ได้เริ่มจากเจตนาที่จะให้การคุ้มครองอย่างกว้างขวางและ เพียงพอแก่งานก่อสร้าง รวมทั้งเครื่องจักรกล อุปกรณ์ ฯลฯ ที่ใช้ในงานก่อสร้าง และยังขยายงานคุ้มครองถึงความรับผิดตามกฎหมาย ต่อสาธารณชนของผู้รับเหมาก่อสร้างด้วยการประกันภัยทุกชนิดของผู้รับเหมาก่อ สร้างนี้ ให้การคุ้มครองพอสรุปได้ย่อๆดังต่อไปนี้

ทรัพย์สินและชีวิตร่างกาย
        งาน ที่จะก่อสร้างรวมทั้งงานก่อสร้างชั่วคราวเพื่อใช้เกี่ยวกับงานก่อสร้างถาวร นั้น วัสดุเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง ความรับผิดตามกฎหมายของผู้รับเหมาก่อสร้างที่มีต่อสาธารณชน คือ

  1. ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
  2. ความเสียหายต่อชีวิตและร่างกาย


    ภัยที่คุ้มครอง
  • อัคคีภัย การระเบิด
  • ภัยธรรมชาติ เช่น ฟ้าผ่า พายุทุกชนิด แผ่นดินไหว แผ่นดินถล่ม หินทลาย
  • โจรกรรม
  • ขาดฝีมือหรือขาดความชำนาญ ความผิดพลาดตามวิสัยปุถุชน หรือถูกก่อวินาศกรรม ถูกกลั่นแกล้ง
  • ความเสียหายในระหว่างเคลื่อนย้าย เก็บรอการติดตั้งหรือระหว่างการติดตั้ง
  • การออกแบบและคำนวณผิดพลาด (ในกรณีต้องการให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ)

 

ที่มา http://www.paiboononline.com/agent/wannisa/product/?StrPID=41




เกี่ยวกับประกันภัย

การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมาย สถานีบริการน้ำมัน
กรมธรรม์ประกันภัยงานบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ประกอบระบบ article
เพลิงไหม้จากไฟฟ้าลัดวงจร ผู้ครอบครองต้องรับผิด article