ReadyPlanet.com
dot
ฐานข้อมูล
dot
bulletฐานข้อมูลอาคารที่ต้องตรวจสอบ
bullet ทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคาร
bulletข้อมูลการตรวจสอบอาคาร
bulletวัตถุประสงค์
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทนิติบุคคล
bulletรายชื่อผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทบุคคล
bulletมาตรฐานค่าวิชาชีพวิศวกรรม
bulletอัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน
dot
ดาวน์โหลด
dot
bulletสัญญาตรวจสอบอาคาร
bulletเอกสารรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า กรมโรงงานอุตสาหกรรม (word 2003)
bulletแบบฟอร์มขอใบรับรองการตรวจสอบสภาพอาคาร ของกทม (word 2003)
bulletตารางคำนวณระยะทางระหว่างจังหวัดทั่วประเทศไทย
bulletสไลด์นำเสนองานตรวจสอบอาคาร
dot
กฎหมาย
dot
bulletพ.ร.บ. ควบคุมอาคาร และกฎกระทรวง
bulletพ.ร.บ. โรงงาน และกฎกระทรวง
bulletพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน
bulletพ.ร.บ. การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
bulletพ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
dot
ลิงก์ไปยังเว็บไซต์
dot
bulletกรมโยธาธิการและผังเมือง
bulletสำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร
bulletการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
bulletสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
bulletสภาวิศวกร
bulletสภาสถาปนิก
bulletวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร
bulletสมาคมผู้ประกอบวิชาชีพบริหารทรัพยากรอาคาร
bulletสมาคมข่างเหมาไฟฟ้าและเครื่องกลไทย
bulletกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
bulletสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
bulletสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
bulletมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
bulletสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย
dot
ค้นหา

dot
bulletN.S. Plus Engineering
bulletConstruction Audit
bulletThai Engineer 2009


สมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร




อัตราค่าจ้างตามระดับมาตรฐานฝีมือแรงงาน

 ครุฑ

ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง

เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๓)

-----------------------

 

ด้วยคณะกรรมการค่าจ้างได้มีการประชุมศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับตามมาตรฐานฝีมือ และมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ รวม ๒๒ สาขาอาชีพ โดยใช้มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานเป็นเกณฑ์วัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถ

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๗๙ (๔) และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๕๑ คณะกรรมการค่าจ้างจึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ และประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ ๒) ลงวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔

ข้อ ๒ ในประกาศนี้

มาตรฐานฝีมือ หมายความว่า มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

ข้อ ๓ อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในแต่ละสาขาอาชีพและในแต่ละระดับ ให้เป็นดังนี้

(๑) สาขาอาชีพช่างสีรถยนต์
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท

(๒)  สาขาอาชีพช่างเคาะตัวถังรถยนต์
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยยี่สิบบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยเก้าสิบบาท

(๓)  สาขาอาชีพช่างซ่อมรถยนต์
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยหกสิบบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท

(๔)  สาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และ
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสิบบาท

(๕)  สาขาอาชีพพนักงานนวดไทย
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสี่สิบบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยยี่สิบบาท

(๖)  สาขาอาชีพนักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมสปาตะวันตก (หัตถบำบัด)
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบบาท และ
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าสิบบาท

(๗)  สาขาอาชีพช่างซ่อมไมโครคอมพิวเตอร์
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๘)  สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าภายในอาคาร
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๙)  สาขาอาชีพช่างไฟฟ้าอุตสาหกรรม
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๑๐) สาขาอาชีพช่างเครื่องปรับอากาศในบ้านและการพาณิชย์ขนาดเล็ก
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๑๑) สาขาอาชีพช่างอิเล็กทรอนิกส์ (โทรทัศน์)
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท และ
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

(๑๒) สาขาอาชีพช่างเขียนแบบเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยสามสิบบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยเจ็ดสิบบาท

(๑๓) สาขาอาชีพช่างเชื่อมแม็ก
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยบาท

(๑๔) สาขาอาชีพช่างเชื่อมทิก
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยห้าสิบห้าบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยเจ็ดสิบห้าบาท

(๑๕) สาขาอาชีพช่างไม้ก่อสร้าง
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท

(๑๖) สาขาอาชีพช่างก่ออิฐ
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยสี่สิบห้าบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยหกสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบห้าบาท

(๑๗) สาขาอาชีพช่างฉาบปูน
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเก้าสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละหกร้อยห้าบาท

(๑๘) สาขาอาชีพช่างอะลูมิเนียมก่อสร้าง
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยหกสิบห้าบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยเจ็ดสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยแปดสิบห้าบาท

(๑๙) สาขาอาชีพช่างเย็บ
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยยี่สิบบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยเจ็ดสิบบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยบาท

(๒๐) สาขาอาชีพช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี)
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละห้าร้อยห้าสิบบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละเจ็ดร้อยห้าสิบบาท

(๒๑) สาขาอาชีพช่างเครื่องเรือนไม้
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยสามสิบห้าบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยแปดสิบห้าบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยสามสิบห้าบาท

(๒๒) สาขาอาชีพช่างบุครุภัณฑ์
ระดับ ๑ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยยี่สิบบาท
ระดับ ๒ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสามร้อยเจ็ดสิบบาท และ
ระดับ ๓ เป็นเงินไม่น้อยกว่าวันละสี่ร้อยยี่สิบบาท

ข้อ ๔ เพื่อประโยชน์ตามข้อ ๓ (๑) ถึง (๒๒) คำว่า วันหมายถึง เวลาทำงานปกติของลูกจ้าง

ข้อ ๕ นายจ้างที่ให้ลูกจ้างทำงานในตำแหน่งงานหรือลักษณะงานที่ต้องใช้ทักษะฝีมือ ความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใด ไม่ว่าจะครอบคลุมมาตรฐานฝีมือนั้นทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดก็ตาม ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้น

ข้อ ๖ ภายใต้บังคับข้อ ๕ ลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับใดไม่ว่าก่อนหรือหลังประกาศนี้มีผลใช้บังคับ หากประสงค์จะใช้สิทธิให้ยื่นหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือในสาขาอาชีพและระดับนั้นแก่นายจ้างโดยเร็ว

เมื่อนายจ้างได้รับหนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้จ่ายค่าจ้างตามอัตราในประกาศนี้ ให้แก่ลูกจ้างนับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรองเป็นต้นไป

ข้อ ๗ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฉบับนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป

 

                                                                                              ประกาศ ณ วันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๕

                                                                                                            สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์

                                                                                                             ปลัดกระทรวงแรงงาน

                                                                                                           ประธานกรรมการค่าจ้าง

 

เล่ม ๑๒๙ ตอนพิเศษ ๕๙ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๙ มีนาคม ๒๕๕๕