|
สัญญาตรวจสอบอาคาร
สัญญามาตรฐาน งานตรวจสอบอาคาร เป็นรูปแบบสัญญาที่เขียนโดยมีเนื้อหาสาระที่เป็นธรรม ระหว่าง ผู้ให้บริการคือผู้ตรวจสอบอาคาร กับ ผู้รับบริการ คือ เจ้าของอาคาร หากท่านใดนำไปใช้แล้ว มีข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แนะนำได้ที่ aps.service@gmail.com
สัญญาว่าจ้างผู้ตรวจสอบอาคาร
ประจำปี 2552
สัญญาเลขที่ 2552/4xxx
สัญญาฉบับนี้ทำขึ้น ณ บริษัท 999 จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ เลขที่ 999 ถนน 999 แขวง 999 เขต 999 จังหวัด กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 99 เดือน 999 พ.ศ. 999 ระหว่าง บริษัท 999 จำกัด ซึ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ เลขที่ 999 ถนน 999 แขวง 999 เขต 999 จังหวัด กรุงเทพมหานคร โดย นาย 999 ผู้รับมอบอำนาจกระทำการแทนบริษัทฯ ซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลปรากฎตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ ..... เดือน .................... พ.ศ. ............ ซึ่งต่อไปนี้ในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง กับ
บริษัท 999 จำกัด ซึ่งจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล ณ กรุงเทพมหานคร มีสำนักงานใหญ่อยู่เลขที่ 999 ซอย 999 ถนน 999 แขวง 999 เขต 999 จังหวัด กรุงเทพฯ ซึ่งได้ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบประเภทนิติบุคคล ต่อคณะกรรมควบคุมอาคาร ตามหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ เลขที่ น.999/999 โดย นาย 999 ผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลปรากฏตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ลงวันที่ 99 999 พ.ศ. 999 ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า “ผู้ตรวจสอบอาคาร” อีกฝ่ายหนึ่ง โดยที่ผู้ว่าจ้างมีความประสงค์จะจ้างผู้ตรวจสอบอาคารเพื่อทำการตรวจสอบอาคารประจำปี 2552 ดังนี้
1) อาคาร 999
2) อาคาร 999 3) อาคาร 999 4) อาคาร 999 5) อาคาร 999 โดยมีขอบเขตการทำงานตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง พ.ศ. 2548 เรื่องการตรวจสอบอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และโดยที่ ผู้ตรวจสอบอาคาร มีความประสงค์จะรับจ้างทำงานดังกล่าวข้างต้น
ทั้งสองฝ่ายจึงได้ตกลงทำสัญญากันมีข้อความดังต่อไปนี้
ผู้ว่าจ้างตกลงจ้าง และผู้ตรวจสอบอาคารตกลงรับจ้างเพื่อปฏิบัติงานตามรายละเอียดที่กำหนดไว้ในเอกสารแนบท้ายสัญญา ซึ่งประกอบด้วยเงื่อนไขของสัญญา และภาคผนวกดังต่อไปนี้
ภาคผนวก ก : ขอบข่ายของงาน
ภาคผนวก ข : กำหนดระยะเวลาการทำงานของผู้ตรวจสอบอาคาร ภาคผนวก ค : ค่าจ้างและวิธีการจ่ายค่าจ้าง เอกสารแนบท้ายสัญญาดังกล่าวข้างต้นให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญานี้ ในกรณีที่มีความขัดแย้งกันระหว่างข้อความในเงื่อนไขของสัญญา กับข้อความในภาคผนวก ให้ถือข้อความในเงื่อนไขของสัญญาบังคับและในกรณีที่เอกสารแนบท้ายสัญญาขัดแย้งกันเอง ผู้ตรวจสอบอาคาร และผู้ว่าจ้าง จะทำการวินิจฉัยร่วมกันและต้องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยนั้น
สัญญานี้ทำขึ้น 2 ฉบับ มีข้อความถูกต้องตรงกัน คู่สัญญาได้อ่านและเข้าใจข้อความในสัญญาโดยละเอียดตลอดแล้ว จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยานและคู่สัญญา ต่างยึดถือไว้ฝ่ายละฉบับ
ลงชื่อ……………………………………….ผู้ว่าจ้าง ( นาย 999 ) ลงชื่อ……………………………………….ผู้ตรวจสอบอาคาร ( นาย 999 ) ลงชื่อ……………………………………….พยาน ลงชื่อ……………………………………….พยาน ( นาย 999 ) ( นาย 999 ) เงื่อนไขของสัญญา
1. ข้อความทั่วไป
1.1 ขอบข่ายของงาน
งานซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องปฏิบัติตามสัญญานี้ (ต่อไปในสัญญาเรียกว่า “งาน”) ให้เป็นไปตามขอบข่ายของงานที่ระบุไว้ในภาคผนวก ก. และงานซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารและผู้ว่าจ้างตกลง เพิ่มเติมจากภาคผนวก ก 1.2 กฎหมาย และระเบียบ ข้อบังคับของผู้ว่าจ้าง ที่จะต้องปฏิบัติตาม
ในการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ ผู้ตรวจสอบอาคารปฏิบัติตามกฎหมาย รวมทั้ง ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของผู้ว่าจ้างที่ประกาศใช้กับพนักงานของผู้ว่าจ้าง ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และผู้ให้บริการต่างๆ 1.3 หัวเรื่อง
ชื่อหัวเรื่องของเงื่อนไขของสัญญาข้อหนึ่งข้อใด จะไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเงื่อนไขของสัญญาข้อนั้นหรือนำไปประกอบการพิจารณาในการตีความวินิจฉัยความหมายของข้อความในข้อนั้นๆ หรือข้อความอื่นใดของสัญญานี้ 1.4 การบอกกล่าว
บรรดาคำบอกกล่าวหรือการได้ความยินยอมหรือความเห็นชอบใดๆ ตามสัญญานี้ ต้องทำเป็นหนังสือและจะถือว่าได้ส่งไปโดยชอบแล้ว หากได้จัดส่งโดยทางหนึ่งทางใดดังต่อไปนี้ คือ - ส่งมอบโดยบุคคลแก่ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย
- ทางไปรษณีย์ลงทะเบียน - ทางโทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร แล้วยืนยันเป็นหนังสือโดยเร็วไปยังชื่อและที่อยู่ของคู่สัญญา ดังต่อไปนี้ ผู้ว่าจ้าง นาย 999
บริษัท 999 จำกัด 999 ถนน 999 แขวง 999 เขต 999 กรุงเทพฯ 999 ผู้ตรวจสอบอาคาร นาย 999
บริษัท 999 จำกัด 999 ถนน 999 แขวง 999 เขต 999 กรุงเทพฯ 999 2. การเริ่มงาน การสิ้นสุดของงาน การเปลี่ยนแปลงแก้ไข และการบอกเลิกสัญญา 2.1 การเริ่มมีผลบังคับของสัญญา
สัญญานี้เริ่มมีผลใช้บังคับทันที เมื่อคู่สัญญาได้ลงนาม 2.2 วันเริ่มปฏิบัติงาน
ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องเริ่มปฏิบัติงานภายใน 30 วันหลังวันเซ็นต์สัญญา 2.3 วันสิ้นสุดของสัญญา
ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายใน วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 2.4 การเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา
ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญา ให้ทำเป็นหนังสือตามแบบและวิธีการที่กำหนด 2.5 การโอนงาน
2.5.1 ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องไม่ให้ช่วงงาน มอบหมายงาน โอนงาน หรือละทิ้งงานให้ผู้อื่นเป็นผู้ทำงานตามสัญญานี้แทน ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วนด้วยประการใดๆ โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้างก่อน และแม้จะได้รับความยินยอมดังกล่าว ผู้ตรวจสอบอาคารก็ยังต้องรับผิดชอบอย่างเต็มที่ตามสัญญานี้ต่อไปทุกประการ 2.5.2 ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องไม่โอนสิทธิประโยชน์ใดๆ ตามสัญญานี้ให้แก่ผู้อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าจ้างก่อน 2.6 การระงับงานชั่วคราวและการบอกเลิกสัญญา
2.6.1 การบอกเลิกสัญญาหรือให้หยุดงานชั่วคราวโดยผู้ว่าจ้าง (ก) ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญานี้ได้ ถ้าผู้ว่าจ้างเห็นว่าผู้ตรวจสอบอาคารมิได้ปฏิบัติงานด้วยความชำนาญหรือด้วยความเอาใจใส่ในวิชาชีพของผู้ตรวจสอบอาคารเท่าที่พึงคาดหมายได้จากผู้ตรวจสอบอาคารในระดับเดียวกัน หรือมิได้ปฏิบัติตามข้อสัญญา และเงื่อนไขที่กำหนดในสัญญานี้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ว่าจ้างจะบอกกล่าวให้ผู้ตรวจสอบอาคารทราบถึงเหตุผลที่จะบอกเลิกสัญญา ถ้าผู้ตรวจสอบอาคารมิได้ดำเนินการแก้ไขให้ผู้ว่าจ้างพอใจภายในระยะเวลา 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าว ผู้ว่าจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาโดยการส่งคำบอกกล่าวแก่ผู้ตรวจสอบอาคาร เมื่อผู้ตรวจสอบอาคารได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ให้ถือว่ามีผลสิ้นสุดสัญญาทันที ผู้ตรวจสอบอาคารต้องหยุดปฏิบัติงานทันที และดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายใดๆ ที่อาจมีในระหว่างการหยุดปฏิบัติงานนั้นให้น้อยที่สุด (ข) ผู้ว่าจ้างอาจมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ตรวจสอบอาคารทราบล่วงหน้า เมื่อใดก็ได้ว่าผู้ว่าจ้างมีเจตนาที่จะระงับการทำงานทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือจะบอกเลิกสัญญา ในกรณีที่ผู้ว่าจ้างจะบอกเลิกสัญญา การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจะมีผลในเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน นับจากวันที่ ผู้ตรวจสอบอาคารได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้น หรืออาจเร็วกว่าหรือช้ากว่ากำหนดเวลานั้นก็ได้ แล้วแต่คู่สัญญาจะทำความตกลงกันเมื่อผู้ตรวจสอบอาคารได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้นแล้ว ผู้ตรวจสอบอาคารต้องหยุดปฏิบัติงานทันที และดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อลดค่าใช้จ่ายใดๆ ที่อาจมีในระหว่างการหยุดปฏิบัติงานนั้นให้น้อยที่สุด 2.6.2 การบอกเลิกสัญญาโดยผู้ตรวจสอบอาคาร
ผู้ตรวจสอบอาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ถ้าผู้ว่าจ้างมิได้ปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่สัญญาระบุไว้ ในกรณีเช่นนี้ผู้ตรวจสอบอาคารจะมีหนังสือถึงผู้ว่าจ้างระบุรายละเอียดถึงสาเหตุและเหตุผลในการขอเลิกสัญญา ถ้าผู้ว่าจ้างมิได้ดำเนินการแก้ไขให้ผู้ตรวจสอบอาคารพอใจ ภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือบอกกล่าวนั้น ผู้ตรวจสอบอาคารมีสิทธิบอกเลิกสัญญา 2.6.3 เหตุสุดวิสัย
(ก) “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี จะให้ผลพิบัติก็ดี ไม่มีใครจักอาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลนั้นในฐานะ เช่นนั้น (ข) ถ้าคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญานี้ได้ เพราะเหตุสุดวิสัยคู่สัญญาฝ่ายนั้นจะต้องบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบภายใน 14 วัน นับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้นและคู่สัญญาฝ่ายที่ได้รับแจ้ง ต้องพิจารณาว่าจะยอมรับเหตุดังกล่าวว่าเป็นเหตุสุดวิสัยหรือไม่ แล้วแจ้งให้คู่สัญญาฝ่ายแรกทราบภายในเวลาอันควร (ค) ในระหว่างที่มีเหตุสุดวิสัยเกิดขึ้น ให้หน้าที่และความรับผิดชอบของคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายระงับลงชั่วคราว เว้นแต่จะระบุไว้ในสัญญานี้เป็นประการอื่น อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบอาคารมีสิทธิจะได้รับการขยายเวลาทำงานออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ต้องเสียไปอันเนื่องจากเหตุสุดวิสัยนั้น (ง) ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่สามารถปฏิบัติงาน หรือยินยอมให้มีการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ได้ทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน เนื่องจากเหตุสุดวิสัยต่อเนื่องกันเป็นเวลาเกินกว่า 60 วัน นับจากวันแจ้ง เหตุสุดวิสัยตามข้อ (ข) คู่สัญญาแต่ละฝ่ายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ โดยส่งคำบอกกล่าวไปยังคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน 2.7 สิทธิของคู่สัญญาเมื่อมีการระงับงานชั่วคราวหรือบอกเลิกสัญญา
2.7.1 เมื่อมีการระงับการทำงานตามสัญญานี้ชั่วคราว ตามสัญญาข้อ 2.6.1 (ข) ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้ตรวจสอบอาคารเป็นค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นตามจำนวนเงินที่คู่สัญญาจะได้ตกลงกัน หรือ ไม่ต้องจ่ายเงินค่าใช้จ่ายและผู้รับจ้างต้องคืนเงินค่าจ้างที่รับล่วงหน้าทั้งหมดให้แก่ผู้ว่าจ้างก็ได้ 2.7.2 เมื่อมีการเลิกสัญญาตามข้อ 2.6.1 (ข) หรือข้อ 2.6.2 ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างตามส่วนที่เป็นธรรมและเหมาะสมที่กำหนดในภาคผนวก ค. ให้แก่ผู้ตรวจสอบอาคาร โดยคำนวณตั้งแต่วันเริ่มปฏิบัติงานจนถึงวันบอกเลิกสัญญา 2.8 สิทธิเรียกร้องเมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา
เมื่อมีการบอกเลิกสัญญาเนื่องจากผิดสัญญา ผู้ว่าจ้างและผู้ตรวจสอบอาคารจะทำความตกลงกันในเรื่องค่าเสียหาย และให้ฝ่ายที่ผิดสัญญา ชำระค่าเสียหายให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยทั้งสองฝ่ายจะตกลงค่าเสียหายและชำระค่าเสียหายให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่สัญญาสิ้นสุดลง หากไม่ชำระค่าเสียหายภายในเวลาที่กำหนด ฝ่ายที่ผิดสัญญาจะต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากจำนวนเงินค่าเสียหายที่ต้องชำระให้อีกฝ่ายหนึ่ง โดยคิดนับแต่วันที่ผิดนัดชำระเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระค่าเสียหายเสร็จสิ้น 2.9 ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบอาคารดำเนินการตรวจสอบไม่เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา และทำให้ผู้ว่าจ้างต้องถูกปรับจากทางราชการ ผู้ตรวจสอบอาคารยินดีจ่ายค่าปรับทั้งหมดแทนผู้ว่าจ้างจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จตามกฎหมายที่กำหนด เว้นแต่ความล่าช้านั้น เกิดขึ้นจากส่วนของผู้ว่าจ้าง และผู้ตรวจสอบได้ใช้ความพยายามตามสมควรในการแจ้งเร่งรัดผู้ว่าจ้าง และให้ระยะเวลาตามสมควรในการให้ผู้ว่าจ้าง ในการดำเนินการตามที่ผู้ตรวจสอบแจ้ง
3. สิทธิและหน้าที่ของผู้ตรวจสอบอาคาร
3.1 ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องใช้ความชำนาญ ความระมัดระวัง และความขยันหมั่นเพียรในการปฏิบัติงานตามสัญญาอย่างมีประสิทธิภาพ และจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบ ให้สำเร็จลุล่วงเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพที่ยอมรับนับถือกันทั่วไป
3.2 ค่าจ้างซึ่งผู้ว่าจ้างจะชำระแก่ผู้ตรวจสอบอาคารตามภาคผนวก ค. นั้น เป็นค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารจะได้รับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามสัญญานี้ ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องไม่รับค่านายหน้าทางการค้า ส่วนลด เบี้ยเลี้ยง เงินช่วยเหลือใดๆ โดยตรงหรือโดยอ้อมหรือสิ่งตอบแทนใดๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสัญญานี้ หรือที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญานี้
3.3 ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องไม่มีผลประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมในเงินค่าสิทธิ เงินบำเหน็จหรือค่านายหน้าใดๆ ที่เกี่ยวกับการนำสิ่งของหรือกรรมวิธีใดๆ ที่มีทะเบียนสิทธิบัตรหรือได้รับการคุ้มครองมาใช้ เพื่อวัตถุประสงค์ของสัญญานี้ เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ตกลงกันเป็นหนังสือว่าผู้ตรวจสอบอาคารอาจได้ผลประโยชน์หรือเงินเช่นว่านั้นได้
3.4 ลิขสิทธิ์ในเอกสารทุกฉบับซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารได้ทำขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ให้ตกเป็นของผู้ว่าจ้าง บรรดาเอกสารที่ผู้ตรวจสอบอาคารได้จัดทำขึ้นเกี่ยวกับสัญญานี้ให้ถือเป็นความลับและให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้าง ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องส่งมอบบรรดาเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ว่าจ้างเมื่อสิ้นสุดสัญญานี้ ผู้ตรวจสอบอาคารอาจเก็บสำเนาเอกสารไว้กับตนได้ แต่ต้องไม่นำข้อความในเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการอื่นที่ไม่เกี่ยวกับงานโดยไม่ได้รับความยินยอมล่วงหน้าจากผู้ว่าจ้างก่อน
3.5 บรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายซึ่งผู้ว่าจ้างได้จัดให้ผู้ตรวจสอบอาคารใช้หรือซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารซื้อมาด้วยทุนทรัพย์ของผู้ว่าจ้าง หรือซึ่งผู้ว่าจ้างเป็นผู้จ่ายชดใช้คืนให้ ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างและต้องทำเครื่องหมายแสดงว่าเป็นของผู้ว่าจ้าง ผู้ตรวจสอบอาคารต้องใช้เครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมตามระเบียบของผู้ว่าจ้าง เพื่อกิจการที่เกี่ยวกับการจ้างผู้ตรวจสอบอาคารเท่านั้น
เมื่อทำงานเสร็จหรือมีการเลิกสัญญา ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องทำบัญชีแสดงรายการเครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ทั้งหลายข้างต้นที่ยังคงเหลืออยู่ และจัดการโยกย้ายไปเก็บรักษาตามคำสั่งผู้ว่าจ้าง ผู้ตรวจสอบอาคารต้องดูแลเครื่องมือ เครื่องใช้ และวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวอย่างเหมาะสมตลอดเวลาที่ครอบครอง แล้วต้องคืนเครื่องมือ เครื่องใช้และวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวให้ครบในสภาพดีตามความเหมาะสม แต่ไม่ต้องรับผิดชอบ สำหรับความเสื่อมสภาพตามปกติ 4. ความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบอาคาร
4.1 ผู้ตรวจสอบอาคารจำกัดความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคาร โดยจำกัดความรับผิดต่อความสูญเสียต่อร่างกาย และ/หรือความเสียหายต่อทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ทั้งนี้ความรับผิดจะไม่เกินกว่ากรมธรรม์ประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคาร ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารได้จัดทำไว้ตามกฎหมาย
4.2 ผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องจัดการประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมาย ด้วยจำนวนเงินจำกัดความรับผิดไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย
5. พันธะหน้าที่ของผู้ว่าจ้าง
ผู้ว่าจ้างจะมอบข้อมูลและเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งผู้ว่าจ้างมี หรือจัดให้มี ให้แก่ผู้ตรวจสอบอาคาร โดยไม่คิดมูลค่าและภายในเวลาอันควร ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบอาคารร้องขอความช่วยเหลือ ผู้ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกตามสมควร ทั้งนี้เพื่อให้การปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบอาคารตามสัญญานี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี 6. ค่าจ้างของผู้ตรวจสอบอาคาร
6.1 ผู้ว่าจ้างจะชำระค่าจ้างปฏิบัติงานให้ผู้ตรวจสอบอาคารตามเงื่อนไขที่ระบุในภาคผนวก ค.
6.2 ในกรณีที่ผู้ตรวจสอบอาคารต้องปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ระบุในภาคผนวก ก. เนื่องจากมีเหตุใดๆ นอกเหนือจากการควบคุมของผู้ตรวจสอบอาคารเกิดขึ้น และซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้หรือเนื่องจากคู่สัญญาได้ตกลงเปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขงาน อันสืบเนื่องจากการเรียกร้องของฝ่ายผู้ว่าจ้าง ผู้ตรวจสอบอาคารจะได้รับค่าจ้างรวมทั้งค่าใช้จ่ายที่เบิกคืนได้ (ถ้ามี) เพิ่มเติม โดยคำนวณตามอัตราเดียวกับอัตราที่ระบุในภาคผนวก ค.
.3 ในกรณีที่ความล่าช้าเกิดจากฝ่ายผู้ว่าจ้าง และความล่าช้านั้นทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ ผู้ตรวจสอบอาคารมีสิทธิได้รับค่าจ้างเพิ่มเติมโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงกันในเรื่องค่าจ้างเพิ่มเติมนั้น
ภาคผนวก ก. วันทำสัญญา 16 กุมภาพันธ์ 2552
ขอบข่ายของงาน 1. ขอบเขตของผู้ตรวจสอบอาคาร
การตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบต่าง ๆ ของอาคาร อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ตามที่กำหนดและตามที่ต้องการได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดขอบเขตของผู้ตรวจสอบ ดังนี้ “ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่ตรวจสอบ สังเกตด้วยสายตาพร้อมด้วยเครื่องมือพื้นฐานเท่านั้น จะไม่รวมถึงการทดสอบที่อาศัยเครื่องมือพิเศษเฉพาะ ทำรายงาน รวบรวม และสรุปผลการวิเคราะห์ ทางด้านความมั่นคงแข็งแรง และระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้สอยอาคาร แล้วจัดทำรายงานผลการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารที่ทำการตรวจสอบนั้นให้แก่เจ้าของอาคาร เพื่อให้เจ้าของอาคารเสนอรายงานผลการตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นทุกปี ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบอาคารและอุปกรณ์ประกอบของอาคารโดยพิจารณาตามหลักเกณฑ์หรือมาตรฐาน ดังต่อไปนี้ 1. หลักเกณฑ์ตามที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีการก่อสร้างอาคารนั้น หรือ
2. มาตรฐานความปลอดภัยของสถาบันของทางราชการ สภาวิศวกร หรือสภาสถาปนิกทั้งนี้ ณ สถานที่ วัน และเวลาที่ทำการตรวจสอบตามที่ระบุในรายงานเท่านั้น”
2. รายละเอียดในการตรวจสอบ
2.1 รายละเอียดที่ต้องตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบอาคาร และอุปกรณ์ประกอบของอาคารอย่างน้อยต้องทำการตรวจสอบในเรื่อง ดังต่อไปนี้ (1) การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงของอาคาร ดังนี้ (ก) การต่อเติมดัดแปลงปรับปรุงตัวอาคาร
(ข) การเปลี่ยนแปลงน้ำหนักบรรทุกบนพื้นอาคาร (ค) การเปลี่ยนสภาพการใช้อาคาร (ง) การเปลี่ยนแปลงวัสดุก่อสร้างหรือวัสดุตกแต่งอาคาร (จ) การชำรุดสึกหรอของอาคาร (ฉ) การวิบัติของโครงสร้างอาคาร (ช) การทรุดตัวของฐานรากอาคาร (2) การตรวจสอบระบบและอุปกรณ์ประกอบของอาคาร
(ก) ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
(1) ระบบลิฟต์
(2) ระบบบันไดเลื่อน (3) ระบบไฟฟ้า (4) ระบบปรับอากาศ (ข) ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
(1) ระบบประปา
(2) ระบบระบายน้ำเสียและระบบบำบัดน้ำเสีย (3) ระบบระบายน้ำฝน (4) ระบบจัดการมูลฝอย (5) ระบบระบายอากาศ (6) ระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง (ค) ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
(1) บันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(2) เครื่องหมายและไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน (3) ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน (4) ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน (5) ระบบลิฟต์ดับเพลิง (6) ระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (7) ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง (8) ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิง และหัวฉีดน้ำดับเพลิง (9) ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ (10) ระบบป้องกันฟ้าผ่า (3) การตรวจสอบสมรรถนะของระบบ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ของอาคารเพื่ออพยพผู้ใช้อาคาร
(ก) สมรรถนะบันไดหนีไฟและทางหนีไฟ
(ข) สมรรถนะเครื่องหมายและไฟป้ายทางออกฉุกเฉิน (ค) สมรรถนะระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (4) การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
(ก) แผนการป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคาร
(ข) แผนการซ้อมอพยพผู้ใช้อาคาร (ค) แผนการบริหารจัดการเกี่ยวกับความปลอดภัยในอาคาร (ง) แผนการบริหารจัดการของผู้ตรวจสอบอาคาร 2.2 ลักษณะบริเวณที่ต้องตรวจสอบ
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบ รายงาน และประเมินลักษณะบริเวณที่นอกเหนือจากอาคารดังต่อไปนี้ (1) ทางเข้าออกของรถดับเพลิง
(2) ที่จอดรถดับเพลิง (3) สภาพของรางระบายน้ำ 2.3 ระบบโครงสร้าง 2.3.1 ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบตามรายละเอียดดังต่อไปนี้
(1) ส่วนของฐานราก
(2) ระบบโครงสร้าง (3) ระบบโครงหลังคา 2.3.2 สภาพการใช้งานตามที่เห็น การสั่นสะเทือนของพื้น การแอ่นตัวของพื้น คาน หรือ ตง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ
2.3.3 การเสื่อมสภาพของโครงสร้างที่จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของระบบโครงสร้างของอาคาร 2.3.4 ความเสียหายและอันตรายของโครงสร้าง เช่น ความเสียหายเนื่องจากอัคคีภัย ความเสียหายจากการแอ่นตัวของโครงข้อหมุน และการเอียงตัวของผนัง เป็นต้น 2.4 ระบบบริการและอำนวยความสะดวก
2.4.1 ระบบลิฟต์
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบลิฟต์
(2) ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ (3) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.4.2 ระบบบันไดเลื่อน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบของบันไดเลื่อน
(2) ตรวจสอบการทำงานของบันไดเลื่อน (3) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.4.3 ระบบไฟฟ้า
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า ดังนี้ (1) สภาพสายไฟฟ้า ขนาดกระแสของสาย จุดต่อสาย และอุณหภูมิขั้วต่อสาย
(2) ท่อร้อยสาย รางเดินสาย และรางเคเบิล (3) ขนาดเครื่องป้องกันกระแสเกินและพิกัดตัดกระแสของบริภัณฑ์ประธาน แผงย่อย และแผงวงจรย่อย (4) ตัดไฟรั่ว (5) การต่อลงดินของบริภัณฑ์ ขนาดตัวนำต่อลงดิน และความต่อเนื่องลงดินของท่อร้อยสาย รางเดินสาย รางเคเบิล (6) ระบบไฟฟ้าของระบบปรับอากาศ (7) ระบบไฟฟ้าของเครื่องสูบน้ำ (8) ระบบไฟฟ้าของระบบบำบัดน้ำเสีย (9) รายการอื่นตามตารางรายการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบไม่ต้องตรวจสอบในลักษณะดังนี้
(1) วัดหรือทดสอบแผงสวิตซ์ ที่ต้องให้สายวัดสัมผัสกับบริภัณฑ์ในขณะที่แผงสวิตซ์นั้นมีไฟหรือใช้งานอยู่
(2) ทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ป้องกันกระแสเกิน (3) ถอดออกหรือรื้อบริภัณฑ์ไฟฟ้า นอกจากเพียงเปิดฝาแผงสวิตซ์แผงควบคุม เพื่อตรวจสภาพบริภัณฑ์ 2.4.4 ระบบปรับอากาศ
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบปรับอากาศ ดังนี้ (1) อุปกรณ์เครื่องเป่าลมเย็น (AHU)
(2) สภาพทางกายภาพของเครื่องเป่าลมเย็น (3) สภาพการกระจายลมเย็นที่เกิดขึ้น (4) สภาพของอุปกรณ์และระบบควบคุม 2.5 ระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบระบบสุขอนามัยและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ (1) สภาพทางกายภาพและการทำงานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในระบบประปา ระบบบำบัดน้ำเสียและระบายน้ำเสีย ระบบระบายน้ำฝน ระบบจัดการขยะมูลฝอย ระบบระบายอากาศ และระบบควบคุมมลพิษทางอากาศและเสียง
(2) ความสะอาดของ ถังเก็บน้ำประปา 2.6 ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย
ผู้ตรวจสอบจะตรวจสอบความปลอดภัยด้านอัคคีภัย ดังต่อไปนี้
2.6.1 บันไดหนีไฟ ทางหนีไฟ เครื่องหมาย และไฟป้ายบอกทางออกฉุกเฉิน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบสภาพราวจับและราวกันตก
(2) ตรวจสอบความส่องสว่างของแสงไฟ บนเส้นทาง (3) ตรวจสอบอุปสรรคสิ่งกีดขวาง ตลอดเส้นทางจนถึงเส้นทางออกสู่ภายนอกอาคาร (4) ตรวจสอบการปิด – เปิดประตู ตลอดเส้นทาง (5) ตรวจสอบป้ายเครื่องหมายสัญลักษณ์ 2.6.2 ระบบระบายควันและควบคุมการแพร่กระจายควัน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ พร้อมระบบอุปกรณ์ควบคุมการทำงาน
(2) ทดสอบการทำงานว่าสามารถใช้ได้ทันที่ เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือ รวมทั้งสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง โดยไม่หยุดชะงักขณะเกิดเพลิงไหม้ (3) การรั่วไหลของอากาศภายในช่องบันไดแบบปิดทึบที่มีระบบพัดลมอัดอากาศ รวมทั้งการออกแรงผลักประตูเข้าบันไดขณะพัดลมอัดอากาศทำงาน (4) ตรวจสอบช่องเปิด เพื่อการระบายควันจากช่องบันไดและอาคาร รวมถึงช่องลมเข้าเพื่อเติมอากาศเข้ามาแทนที่ด้วย (5) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.6.3 ระบบไฟฟ้าสำรองฉุกเฉิน
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของแบตเตอรี่ เพื่อสตาร์ทเครื่องยนต์
(2) ตรวจสอบสภาพและความพร้อมของระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ และปริมาณน้ำมันที่สำรองไว้ (3) ตรวจสอบการทำงานของระบบไฟฟ้าสำรอง ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ (4) ตรวจสอบการระบายอากาศ ขณะเครื่องยนต์ทำงาน (5) ตรวจสอบวงจรระบบจ่ายไฟฟ้า ให้แก่อุปกรณ์ช่วยเหลือชีวิต และที่สำคัญอื่น ๆ ว่ามีความมั่นคงในการจ่ายไฟฟ้าดีขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคาร (6) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.6.4 ระบบลิฟต์ดับเพลิง
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบตามเกณฑ์ทั่วไปของลิฟต์
(2) ตรวจสอบสภาพโถงปลอดควันไฟ รวมทั้งช่วงเปิดต่าง ๆ และประตู (3) ตรวจสอบอุปกรณ์ระบบป้องกันอัคคีภัยต่าง ๆ ภายในโถงปลอดควันไฟ (4) ตรวจสอบการป้องกันน้ำไหลลงสู่ช่องลิฟต์ ( ถ้ามี ) (5) ตรวจสอบการทำงานของลิฟต์ดับเพลิง รวมทั้งสัญญาณกระตุ้นจากระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ และการทำงานของระบบอัดอากาศ (ถ้ามี) (6) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง มีรายงานการตรวจสอบมีใบรับรองการตรวจสอบ และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.6.5 ระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์ตรวจจับเพลิงไหม้ ในแต่ละห้อง/พื้นที่ ครอบคลุมครบถ้วน
(2) ตรวจสอบอุปกรณ์แจ้งเหตุด้วยมือ, อุปกรณ์แจ้งเหตุต่าง ๆครอบคลุมครบถ้วน ตำแหน่งของแผงควบคุมและแผงแสดงผลเพลิงไหม้ (3) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบฉุกเฉินต่าง ๆ ที่ใช้สัญญาณกระตุ้นระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (4) ตรวจสอบความพร้อมในการแจ้งเหตุทั้งแบบอัตโนมัติ และแบบที่ใช้มือของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (5) ตรวจสอบขั้นตอนการแจ้งเหตุอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน (6) ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุม (7) ตรวจสอบการแสดงผลของระบบแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (8) ตรวจสอบการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.6.6 ระบบการติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง ระบบการจ่ายน้ำดับเพลิง เครื่องสูบน้ำดับเพลิงและหัวฉีดน้ำดับเพลิง และ ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบความเหมาะสมของชนิดอุปกรณ์และระบบดับเพลิง ในแต่ละห้อง/พื้นที่ และครอบคลุมครบถ้วน
(2) ตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์และระบบทั้งแบบอัตโนมัติและแบบที่ใช้มือ รวมความพร้อมใช้งานตลอดเวลา (3) ตรวจสอบการทำงานอุปกรณ์ระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยสารดับเพลิง อาทิ การแจ้งเหตุ การเปิด – ปิดลิ้นกั้นไฟหรือควัน เป็นต้น (4) ตรวจสอบขั้นตอนการดับเพลิงแบบอัตโนมัติ และช่วงเวลาแต่ละขั้นตอน (5) ตรวจสอบความถูกต้องตามที่กำหนดของแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้แผงควบคุมแหล่งน้ำดับเพลิง ถังสารดับเพลิง (6) ตรวจสอบความดันน้ำ และการไหลของน้ำ ในจุดที่ไกลหรือสูงที่สุด (7) ตรวจสอบการแสดงผลของระบบดับเพลิง (8) ตรวจการดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.6.7 ระบบป้องกันฟ้าผ่า
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบระบบตัวนำล่อฟ้า ตัวนำต่อลงดินครอบคลุมครบถ้วน
(2) ตรวจสอบระบบรากสายดิน (3) ตรวจสอบจุดต่อประสานศักย์ (4) ตรวจสอบ การดูแลรักษา ซ่อมบำรุง และการทดสอบระบบในอดีตที่ผ่านมา 2.7 การตรวจสอบระบบบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคาร
ผู้ตรวจสอบจะทำการตรวจสอบครอบคลุมอย่างน้อย ดังนี้ (1) ตรวจสอบแบบแปลนของอาคารเพื่อใช้สำหรับการดับเพลิง
(2) ตำแหน่งที่เก็บแบบแปลน ภาคผนวก ข.
วันทำสัญญา 16 กุมภาพันธ์ 2552
กำหนดระยะเวลาทำงานของผู้ตรวจสอบอาคาร
ผู้ตรวจสอบตกลงจะเริ่มปฏิบัติงานภายใน 30 วันหลังวันเซ็นต์สัญญา และผู้ตรวจสอบอาคารจะต้องปฏิบัติงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2552 โดยให้ถือวันที่ ผู้ตรวจสอบส่งมอบรายงานฉบับสมบูรณ์ให้ผู้ว่าจ้าง (ฉบับที่ส่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่น) เป็นวันแล้วเสร็จ
การตรวจสอบในแต่ละปีจะทำการตรวจสอบ ๓ ครั้งต่อปีคือ
ครั้งที่ ๑ การตรวจสอบอาคารในราวเดือนมีนาคม 2552 พร้อมกับทำรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นฉบับที่ 1 เพื่ออ้างอิง หรือประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี)
ครั้งที่ ๒ การตรวจสอบอาคารในราวเดือนกรกฎาคม 2552 พร้อมกับทำรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นฉบับที่ 2 เพื่อรายงานความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี) หรือข้อแนะนำการปรับปรุงเพิ่มเติม (ถ้ามี) ครั้งที่ ๓ การตรวจสอบครั้งสุดท้ายภายในเดือนพฤศจิกายน 2552 พร้อมกับทำรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นฉบับที่ 3 เพื่อรายงานความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี) หรือข้อแนะนำการปรับปรุงเพิ่มเติม (ถ้ามี) และออกรายงานผลการตรวจสอบอาคารประจำปีฉบับสมบูรณ์เพื่อนำส่งให้เจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ภายในวันที่ 20 ธันวาคม 2552 ภาคผนวก ค. วันทำสัญญา 16 กุมภาพันธ์ 2552
ค่าจ้างและวิธีการจ่ายค่าจ้าง ผู้ว่าจ้างตกลงจ้าง และผู้ตรวจสอบอาคารตกลงรับจ้างงานตรวจสอบอาคารตรวจสอบประจำปี 2552 เป็นมูลค่างานรวมทั้งสิ้น 999 บาท (999 บาทถ้วน) ซึ่งราคานี้ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีรายละเอียดราคางานดังนี้
๑) อาคาร 999 999 บาท
๒) อาคาร 999 999 บาท ๓) อาคาร 999 999 บาท ๔) อาคาร 999 999 บาท ๕) อาคาร 999 999 บาท โดยผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายค่าจ้างให้ผู้ตรวจสอบอาคาร แบ่งเป็นงวดๆ โดย
งวดที่ ๑ ๒๕% เมื่อลงนามในสัญญา
งวดที่ ๒ ๒๕% ของค่าจ้างเมื่อส่งรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นฉบับที่ 1 เพื่ออ้างอิง หรือประกอบการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี) งวดที่ ๓ ๒๕% ของค่าจ้าง เมื่อผู้ตรวจสอบอาคารส่งรายงานการตรวจสอบเบื้องต้นฉบับที่ 2 เพื่อรายงานความคืบหน้าในการปรับปรุงแก้ไข (ถ้ามี) หรือข้อแนะนำการปรับปรุงเพิ่มเติม (ถ้ามี) งวดที่ ๔ ๒๕% ของค่าจ้าง เมื่อผู้ตรวจสอบส่งมอบรายงานตรวจสอบอาคารประจำปีฉบับสมบูรณ์ให้ผู้ว่าจ้าง เพื่อผู้ว่าจ้างจะดำเนินการส่งรายงานดังกล่าวให้กับเจ้าพนักงานท้องถิ่น
|